การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 Parental Raising and Psychological Characteristics relate

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ พรสมบูรณ์ศิริ
  • ปราโมทย์ มลคล้ำ
  • รัชนี ครองระวะ

คำสำคัญ:

การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง, จิตลักษณะ, พฤติกรรมป้องกันตนเอง, Parental raising, Psychological Characteristics, self-defensive behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 ที่จำแนกตามเพศ ระดับชั้นเรียน การพักอาศัยและผลการเรียน  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ลักษณะทางครอบครัว กับปัจจัยด้านจิตลักษณะของนักเรียน        ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาตัวแปร การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน และความภาคภูมิใจในตนเอง  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1           กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 จำนวน 339 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติ    ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)           การทดสอบค่าที (t-test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง (Two-Way ANOVA) และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) เมื่อจำแนกตามเพศ และ ผลการเรียนเฉลี่ย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระดับชั้นเรียนกับการพักอาศัย ไม่พบความแตกต่าง    2) ลักษณะทางครอบครัว กับปัจจัยด้านจิตลักษณะของนักเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด 3) ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 ได้ ร้อยละ 36.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Abstract

This study aimed to

             1) compare self-defensive behavior from drugs of high school students who have different background and bio-social characteristics,          

             2) examine interaction effects of family characteristics and psychological characteristics of students on self-defensive behavior of high school students           in schools under jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 

             3) explore variables, including parental raising and psychological characteristics of students that explained self-defensive behavior from drugs of high school students. The sample consisted of 339 high school students selected by stratified random sampling. The stratums were formed based on school size,  class level, and gender. Measurements used were questionnaires developed by researchers.  Statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, 2-Ways ANOVA, and Multiple Regression Analysis.

The results were found that:

            Self-defensive behaviors from drugs of high school students classified by gender and academic achievement were statistically different at .05, but they were not different if classified by class level and residency.

            Parental raising, future focused and self-control characteristics were not correlate with self-defensive behavior from drugs.

            Parental raising and self-esteem were also not correlate with self-defensive behavior from drugs.

            Characteristics of future focused and self-control combined with parental raising were able to predict self-defensive behavior from drugs of high school students in schools under jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 by 36.4% at .001 statistical significant level. 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย