การพัฒนานวัตกรรมเตียงไฟฟ้าชนิดปรับท่านั่งหลังตรงต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
คำสำคัญ:
เตียงไฟฟ้าปรับท่านั่งตรง, ผู้ป่วยติดเตียง, นวัตกรรมเตียงต้นแบบบทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยติดเตียงต้องทุกข์ทรมานกับการที่ไม่สามารถลุกนั่งหรือยืนได้ ทำให้เกิดปอดอักเสบติดเชื้อและผู้ดูแลอาจเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อจากการยกหรือขยับให้ผู้ป่วยติดเตียงลุกนั่ง
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนานวัตกรรมเตียงปรับท่านั่งไฟฟ้าต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียง และประเมินคุณภาพนวัตกรรมเตียงปรับท่านั่งไฟฟ้าต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียงจากผู้ใช้งาน
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนานวัตกรรมเตียงปรับท่านั่งไฟฟ้าต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียง โดยการทบทวนเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนทดสอบนวัตกรรมเตียงต้นแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Solidworks และหุ่นจำลอง ระยะที่ 2 ทดลองใช้นวัตกรรมเตียงต้นแบบและประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ อุปกรณ์ทำเตียง แบบประเมิน ความเหมาะสมความเป็นไปได้ของแบบร่างนวัตกรรม โปรแกรม Solidworks หุ่นจำลอง และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมเตียงต้นแบบ ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความคิดเห็น เท่ากับ .70 และ .71 ตามลำดับ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล 45 ราย และอาสาสมัครที่ทำหน้าที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง 45 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: พบว่า นวัตกรรมเตียงไฟฟ้าปรับท่านั่งหลังตรงต้นแบบ มี 3 ส่วน แต่ละส่วนสามารถปรับระดับได้ และมีอุปกรณ์พยุงศีรษะ เข็มขัดนิรภัย และที่พักแขนพับได้ เป็นเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักถึง 120 กิโลกรัม และได้รับอนุสิทธิบัตรแล้ว นอกจากนี้ คะแนนประเมินความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับเตียงต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียงของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด (M = 4.56, SD = .41)
สรุปผล: นวัตกรรมเตียงไฟฟ้าปรับท่านั่งหลังตรงตรงต้นแบบสำหรับผู้ป่วยติดเตียงใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัยควรนำไปศึกษาในสถานการณ์จริงทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านผู้ป่วยติดเตียง
ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิผลของเตียงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ปอดของผู้ป่วย และความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Downloads
References
National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. The 2021 survey of the older persons in Thailand [Internet].2022 Available from: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230731140458_61767.pdf
Normala R, Lukman ZM. Bedridden elderly: factors and risks. International Journal of Research and Scientific Innovation 2020;7(8):46-9.
Joseph, C, Wikmar LN. Prevalence of secondary medical complications and risk factors for pressure ulcers after traumatic spinal cord injury during acute care in South Africa. Spinal Cord [Internet]. 2015 Oct. 20 [cited 2024 Jan. 10];54(7):535-39. Available from: https://www.nature.com/articles/sc2015189
Wu X, Li Z, Cao J, Jiao J, Wang Y, Liu G, et al. The association between major complications of immobility during hospitalization and quality of life among bedridden patients: a3 month prospective multi-center study. Plos One [Internet]. 2018 Oct. 12 [cited 2024 Feb. 25];27(2):4-12. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0205729
Cao J, Wang T, Li Z, Liu G, Liu Y, Zhu C, et al. Factors associated with death in bedridden patients in China: a longitudinal study. PLOS ONE [Internet]. 2020 Jan. 29 [cited 2024 Jan. 15];15(1): e0228423. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0228423
Liu Q, Zhou R, Zhao X, Oei TPS. Effects of prolonged head-down bed rest on working memory.Neuropsychiatric Disease and Treatment 2015;11:835-42.
Marsden G, Jones K, Neilson J, Avital L, Collier M, Stansby G. A cost-effectiveness analysis of two different repositioning strategies for the prevention of pressure ulcers. Journal of Advanced Nursing 2015;71(2):2879-85.
Fleishch, MC, Bremerich D, Schulte - Mattler W,Tannen A, Teichmann AT, Bader W, et al. The prevention of position injuries during gynecologic operations. Guideline of DGGG (S1 level, AWMF Registry No.015/077, February 2015) Geburtshilfe Frauenheilkund, 2015;75(8):792-807.
Srisukkho N, Luksamijarulkul P, Chaiyanan S, Morakotsriwan N. Factors associated with low back pain of nursing personnel in a hospital in Bangkok Metropolitan Administration. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital 2021;17(1):84-112. (in Thai)
Orun B, Roesler CR, Martins D. Review of assistive technologies for bedridden persons [Internet]. 2015 [cited 2024 Jul 5]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/283459329_Review_of_assistive_technologies_for_bedridden_persons.
Ghunaim K, Elashi N, Alser A, Alrayyes T, Abuhaiba M. Design and simulation of a repositioning device to enhance the quality of life of bedridden patients. 2020 International Conference on Assistive and Rehabilitation Technologies (iCareTech) [Internet]. 2020 [cited 2024 Mar. 1]. Available from: https://ieeexplore.ieee.org/document/9328050
Mamom J, Rungroungdouyboon B, Chuanasa J. Enhancing the quality of long-term patient care by use of the innovative “electrical bed-turning system” for the prevention of pressure injuries: a pilot study. Science & Technology Asia 2022;27(1):128-35.
Lerspalungsanti S, Pitaksapsin N, Viriyarattanasak P, Srisurangkul C, Olarnrithinun S. Study on the strength of converted school pick-up truck’s roof in case of rollover accidents. Proceedings of the Institution of Mechanical Engineers, Part D: Journal of Automobile Engineering. 2020;234(8):2228-38.
Wiggermann N, Rempel K, Zerhusen RM, Pelo T, Mann N. Human-centered design process for a hospital bed: promoting patient safety and ease of use. Ergonomics in Design [Internet]. 2019 [cited 2024 Jan. 13];27(2):4-12. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/1064804618805570
Mohammed MN, Khrit NG, Abdelgnei MA, Abubaker E, Muftah AF, Omar MZ, et al. A new design of multi-functional portable patient bed. Journal Teknologi (Sciences & Engineering) 2012;59(Suppl 2): 61-6.
Piyakong D, Pholanun N. Health care technology, innovation, and nursing challenges in disruptive era. Jurnal Ners 2023;18(2):108-09.
Wannapornsiri C. Nursing research. Phitsanulok: Trakulthai; 2012. (in Thai)
Richardson A, Guring G, Derrett S, Harcombe H. Perspectives on preventing musculoskeletal injuries in nurses: a qualitative study. NursingOpen 2019;6(3):915–29.
Bacchin D, Amalia Pernice GF, Pierobon L, Zanella E, Sardena M, Malvestio M, et al. Co-design in electrical medical beds with caregivers.International Journal of Environmental Research and Public Health [Internet]. 2022 Dec. 6 [cited 2024 Jan. 20];19:16353.Available from: https://www.mdpi.com/1660-4601/19/23/16353
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น