ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์และผลลัพธ์การตั้งครรภ์: การศึกษาย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • สายฝน อำพันกาญจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุฑารัตน์ ชูรส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นลินี บัวพุ่ม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชัยนาท

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, เบาหวาน, ปัจจัยสัมพันธ์, ผลลัพธ์การตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

บทนำ: เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคทางอายุรกรรมอันดับหนึ่งในสตรีตั้งครรภ์ และจะส่งผลกระทบที่สำคัญทั้งต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกได้

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และศึกษาผลลัพธ์การตั้งครรภ์ทั้งในมารดาและทารก  

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน มาคลอด ณ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ในระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 273 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและระบบบันทึกของโรงพยาบาล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบ Chi  - square

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 32.97 ปี (SD = 5.93 ) ส่วนมากเป็นเบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ 91.40 ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพ 5 ครั้ง ร้อยละ 66.60 เป็นเบาหวานชนิด A1 ร้อยละ 68.80 ผลลัพธ์การตั้งครรภ์พบทารกน้ำหนักแรกเกิด 4000 กรัม ขึ้นไป ร้อยละ 35.80 คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 22.50 และผ่าท้องคลอดร้อยละ 60.50 ทั้งนี้ชนิดของเบาหวานมีความสัมพันธ์กับอายุครรภ์เมื่อคลอด และน้ำหนักของทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (equation= 8.850, p = .005) และ (equation= 9.134, p = .005) ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (equation= 5.922, p = .039)

สรุปผล: สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรนำผลการวิจัยไปพัฒนาแนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน โดยเน้นการคัดกรอง ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และส่งเสริมการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Cunningham FG. Diabetes. In: Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Gilstrap LC III, Wenstrom KD, editors. Williams Obstetrics. 26th ed. New York: McGraw-Hill; 2023. p. 1169–84.

International Diabetes Federation (IDF). Recommended protocol for screening, management and follow-up of women with gestational diabetes mellitus. Policy Briefing; 2017. Available from: https://www.idf.org/our-activities/care-prevention/gdm.html

Diabetes Association of Thailand under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Clinical practice guideline for diabetes 2023. Bangkok: Srimuang; 2023. (in Thai)

Yangwanichset S. Nursing care for pregnant women with diabetes. Bangkok: Phatthana Sahamit; 2019. (in Thai)

Zurawska KM, Kosinskil M, Wender OE, Bartyzel L, Matysiak E, Olak BB. Obstetric results of the multicenter, nationwide, scientific-educational Program for pregnant women with Gestational Diabetes Mellitus (GDM). Ginekologia Polska 2016;87:651–8. doi: 10.5603/GP.2016.0067

Gilbert L, Gross J, Lanzi S, Quansah DY, Puder J, Horsch A. How diet, physical activity and psychosocial well-being interact in women with gestational diabetes mellitus: An integrative review. BMC Pregnancy and Childbirth 2019;19(1):60–75. doi: 10.1186/s12884-019-2200-y

Thikamporn T, Kanchanabat S. Neonatal outcomes of mothers with gestational diabetes mellitus at Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Vajira Medical Journal Urban Medicine 2017;61(1):21–32. (in Thai)

Liksaiphen W. Factors affecting the control of blood sugar levels in diabetic patients in the area under responsibility of Nong Ping Kai Subdistrict Health Promoting Hospital, Mueang Kamphaeng Phet District, Kamphaeng Phet Province. Phichit Provincial Public Health Research and Academic Journal 2021;2(1):1–10. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. Gestational diabetes and pregnancy [Internet]. 2020. Available from: https://www.cdc.gov/pregnancy/diabetes-gestational.html

Eichenwald EC, Hansen AR, Martin CR, Stark AR, editors. Cloherty and stark's manual of neonatal care. 8th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2021.

Yaiyiam C, Suthutvoravut S. Screening of diabetes mellitus in pregnancy by hemoglobin A1c and fasting plasma glucose at Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Medical Journal 2018;41(3):73–81. (in Thai)

American Diabetes Association. Management of diabetes in pregnancy. Diabetes Care 2022;45(Suppl 1):S232–40. doi: 10.2337/dc22-S016

De Oliveira CM, Tureck LV, Alvares D, Liu C, Horimoto AR, Balcells M, et al. Relationship between marital status and incidence of type 2 diabetes mellitus in a Brazilian rural population: The Baependi Heart Study. PLoS ONE 2020;15(8):e0236869. doi: 10.1371/journal.pone.0236869

Kawitu K, Matthavangkun C. Factors related to blood sugar level control of elderly people with diabetes living in communities surrounding Siam University. Journal of Nursing Science Siam University 2019;20(38):82–95. (in Thai)

Zheng T, Ye W, Wang X, Li X, Zhang J, Little J, et al. A simple model to predict risk of gestational diabetes mellitus from 8 to 20 weeks of gestation in Chinese women. BMC Pregnancy and Childbirth 2019;19(1):1–10. doi: 10.1186/s12884-019-2281-7

Lim WY, Kwek K, Chong YS, Lee YS, Yap F, Chan YH, et al. Maternal adiposity and blood pressure in pregnancy: Varying relations by ethnicity and gestational diabetes mellitus. Journal of Hypertension 2022;32(4):857–64. doi: 10.1097/HJH.0000000000002675

Kunasegaran T, Balasubramaniam VR, Arasoo VT, Palanisamy UD, Ramadas A. Gestational diabetes mellitus in Southeast Asia: A scoping review. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021;18:1272. doi: 10.3390/ijerph18031272

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13