ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อูน ตะสิงห์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, นักศึกษา, ความภาคภูมิใจในตนเอง

บทคัดย่อ

บทนำ: คุณภาพชีวิตของนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดี อาศัยหลายปัจจัย ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อม 

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 363 คน เก็บข้อมูลในเดือนกันยายน 2566 – มกราคม 2567 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ความภาคภูมิใจในตนเอง
ความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL - BREF – THAI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ การถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการวิจัย: นักศึกษาส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.59 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน (p < .001, OR = 2.52; 95% CI = 1.49 - 4.25) ความภาคภูมิใจในตนเอง (p = .037, OR = 3.01; 95%CI = 1.07 - 8.51) และการอยากเปลี่ยนสาขาวิชาที่เรียน (p < .001, OR = 0.38; 95%CI = .24 - .61)

สรุปผล: ระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ ความภาคภูมิใจในตนเอง และการอยากเปลี่ยนสาขาวิชาที่เรียน

ข้อเสนอแนะ: ส่งเสริมนักศึกษาให้มีความภูมิใจในตนเอง แก้ปัญหาการอยากเปลี่ยนสาขา และส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษา การส่งเสริมการหารายได้ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. WHO meaning of quality of life [Internet]. 2012 [cited 2024 Apr 1]. Available from: https://www.who.int/tools/whoqol

Panyapruitpong S. What is a good quality of life [Internet]. 2022 [cited 2024 Apr 8]. Available from: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2486. (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. Report on the survey of students' quality of life [Internet]. 2022 [cited 2024 April 8]. Available from: https://happy8workplace.thaihealth.or.th/news/62. (in Thai)

Tubklay I, Bhumkittipich P, Siramaneerat I, Rukwong A. Factors affecting to health literacy and health behaviors towards sustainable quality of life development among students at Rajamangala university Of Technology Thanyaburi. Research and Development Health System Journal 2024;17(2):168-82. (in Thai)

Kittisuksathit S, Jamjan C, Tangchonthip K, Holamyong C. How to improve your quality of life [Internet]. 2012 [cited 2024 May 7]. Available from: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2486. (in Thai)

Benjapolpitak A. Mental health development policy for the year 2023 [Internet]. 2023 [cited 2024 Apr 5]. Available from: https://mhso.dmh.go.th/page/subject_details.php?subject_id=719. (in Thai)

Mahatnirunkul S, Tantipiwattanakul W, Pumpisanchai W. World Health Organization quality of life indicators in Thai [Internet]. 1998 [cited 2023 April 7]. Available from: https://dmh.go.th/test/whoqol/. (in Thai)

Educational services, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat university. Number of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat university students. [e-document]. 2023. (in Thai)

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

Maslow AH. A theory of human motivation. Psychological Review. 1943;50(4):370-96.

Chantasorn W, Teeravanittrakul S, Saengjan K. The quality of life of the undergraduate students in Burapha university, Bangsaen campus. Journal of Education 2019;30(3):228-42. (in Thai)

Phuangsriken S, Treesorn K, Kucharin P, Suwaphabh D, Charoensaen J, Posri A. Quality of life of nursing students of Roi Et Rajabhat university. Journal of Roi Et Rajabhat University 2020;14(3):208-19. (in Thai)

Photiwat K, Silphiphat K. Factors related to the quality of life of undergraduate students in Thailand. Rajapark Journal 2023;17(55):266-82.

Rogers CR. On becoming a person: A therapist's view of psychotherapy. Boston: Houghton Mifflin; 1961.

Sen A. Poverty and famines: an essay on entitlement and deprivation. Oxford: Clarendon Press; 1981.

Tanviboonwong P, Sungthong P, Charoenchaipinan N. Factors affecting on the quality of life of undergraduate students in Srinakharinwirot university Ongkharak. Journal of Faculty of Physical Education 2022;25(1):15-24. (in Thai)

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

Joo MH. Effect of stress and self-esteem on QoL in general college students. Medico-legal Update 2019;19(1):686-92.

Mikulášková G, and Babinčák P. Self-Esteem, extraversion, neuroticism and health as predictors of quality of life. Human Affairs 2015;25(4):411-20.

Sarndhong K, Pittarattanasatian N. The comparative study of self-esteem and achievement motivation between vocational training school and high school. Chulalongkorn Medical Journal 2016;60(2):231-46. (in Thai)

Deci EL, Ryan RM. Intrinsic motivation and self-determination in human behavior. New York: Plenum; 1985.

Holinka C. Stress, emotional intelligence, and life satisfaction in college students. College Student Journal 2015;49(2):300-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13