ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ผู้ป่วยนอกจากโรงพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • กานต์พิชชา จันธิมา โรงพยาบาลเชียงคำ
  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธีระวรรณ์ ศรีสุวรรณ โรงพยาบาลเชียงคำ

คำสำคัญ:

ระบบนัดออนไลน์ , ผู้ป่วยนอก , แนวทางปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทนำ: แนวทางปฏิบัติการรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ เป็นนวัตกรรมทางสุขภาพที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเข้าถึงการตรวจรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญเร็วขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติ การรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ ผู้ป่วยนอกจากโรงพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลเชียงคำ

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลัง การใช้แนวทางปฏิบัติ การรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ที่โรงพยาบาลเชียงคำจังหวัดพะเยา จำนวน 670 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 335 คน และทีมสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 65 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจของทีมสุขภาพ และผู้ป่วย มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา เท่ากับ .89 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคว์สแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และสถิติทดสอบแมน - วิทนีย์ ยู

ผลการวิจัย: หลังใช้แนวทางปฏิบัติ จำนวนร้อยละของผู้ป่วยที่ได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในครั้งแรกเพิ่มขึ้น (= 219.535) อัตราการคัดกรองเพื่อจำแนกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (= 601.671) ระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญลดลง (z = -3.118) และระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับการทำหัตถการที่จำเป็นสั้นลง (z = -3.891) จากก่อนการใช้แนวทางปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และความพึงพอใจของทีมสุขภาพ (M = 4.38,SD = .61) และผู้ป่วย (M = 4.38, SD = .60) อยู่ในระดับมาก

สรุปผล: แนวทางปฏิบัติ ฯ ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ลดเวลารอคอย มีการคัดกรองความรุนแรง ให้ผู้ป่วยได้รับหัตถการที่จำเป็น ทีมสุขภาพและผู้ป่วยพึงพอใจ     

ข้อเสนอแนะ: ควรนำแนวทางปฏิบัติการรับผู้ป่วยผ่านระบบนัดออนไลน์ ไปใช้ให้ครอบคลุมการส่งต่อผู้ป่วยนอกทุกกลุ่มโรค      

Downloads

Download data is not yet available.

References

WHO. Universal health coverage (UHC). 2023 Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/universal-health-coverage-(uhc).

Viriyathorn S, Yaowaluk W, Tisayaticom K, Patcharanarumol W, Limwattananon S, Limwattananon C, et al. The inpatient and outpatient utilization by health care providers of Thai population in 2015. Journal of Health System Research 2017;11(2):155-69. (in Thai)

Chiangkham Hospital. Patients’ registry database. Phayao: Chiang Kham Hospital; 2023. (in Thai)

Naiker U, FitzGerald G, Dulhunty JM, Rosemann M. Time to wait: a systematic review of strategies that affect out-patient waiting times. Australian Health Review 2018;42(3):286-93. Available from: https://doi.org/10.1071/ah16275

Rojanasaksothron S. Development of smart referral system in the 10th Public Health Region. Journal of Health Research and Development, Nakorn Ratchasima Provincial Public Health Office 2022;18(1):125-34. (in Thai)

Suwatmakin A, Phanthunane P, Suksak A, Wattanasaovaluk K, Tangchaisuriya U, Tonmukayakul U, et al. An evaluation of electronic referral system: a case study of hospitals in the second service network Chiang Mai Province, Thailand. 2023;16(2):127-42. (in Thai)

Womack JP, Jones DT. Lean thinking: banish waste and create wealth in your corporation. New York: Simom & Schuster; 2003.

Mahmoud Z, Angelé-Halgand N, Churruca K, Ellis LA, Braithwaite J. The impact of lean management on frontline healthcare professionals: a scoping review of the literature. BMC Health Services Research 2021 26;21(1):383. Available from: https://doi.org/10.1186/s12913-021-06344-0

Supachutikul A. Lean and quality improvement of health service system. 2559. Available from: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/Lean/Lean60.pdf

Department of Medical Services. MOPD ED. Triage. Academic Office of Department of Medical Services; 1998. Available from: https://www.nktcph.go.th/attachments/article/133/กระบวนการคัดกรอง%20_Ttiage_MOPHEDTRIAGE.pdf

Ren W, Lei S, Tarimo CS, Li Q, Wu J. The situation and influencing factors of outpatient satisfaction in large hospitals: Evidence from Henan province, China. BMC Health Services Research 2021;21(1). Available from: https://doi.org/10.1186/s12913-021-06520-2

Chandra S, Ward P, Mohammadnezhad M. Factors associated with patient satisfaction in Outpatient Department of Suva Sub-divisional Health Center, Fiji, 2018: A mixed method study. Frontiers in Public Health 2019. Available from: https://doi.org/10.3389/fpubh.2019.00183

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26