ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

ผู้แต่ง

  • ศรีวรรณ ทองศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ดาริน บัวหาญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วรรณี เดียวอิศเรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, ฝึกปฏิบัติ, การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

บทคัดย่อ

บทนำ: การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่นักศึกษาพยาบาล ซึ่งความเครียดระดับสูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาและอาจนำไปสู่การเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย: นักศึกษามีความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแผนกฝากครรภ์และหลังคลอดโดยรวมในระดับปานกลาง เกรดเฉลี่ยมีความสัมพันธ์ในทางลบกับความเครียดในด้านอาจารย์และพยาบาล (r = -.359, p < .05) ขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ และความเครียดด้านการดูแลผู้ป่วย (r = -.285, p < .05) กับด้านงานที่ได้รับมอบหมาย (r = -.285, p < .05) ขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกหลังคลอด ภูมิลำเนาไม่มีผลต่อระดับความเครียด โรงพยาบาลแหล่งฝึกที่ต่างกันมีผลต่อความเครียดโดยรวมของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ (F = 3.93, p < .05) การฝึกที่แผนกหลังคลอดมีความเครียดโดยรวมสูงกว่าการฝึกปฏิบัติงานในแผนกฝากครรภ์ (t = -2.42, p < .05)

สรุปผล:  นักศึกษามีความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแผนกฝากครรภ์และหลังคลอดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเกรดเฉลี่ย โรงพยาบาลและแผนกที่ฝึกปฏิบัติส่งผลต่อความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการประเมินความเครียดระหว่างการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาทุกสาขาวิชาและลดสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดรวมทั้งส่งเสริมการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมแก่นักศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kamdaeng P. Supervision in clinical practice regarding expectations of nursing students. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office 2021;27(1):17-28. (in Thai)

Chanrapas Sutawan. Coping strategies and coping skills; choosing the appropriate strategy. Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University 2023;7(1):180-99. (in Thai)

Lazarus R S, Folkman S. Stress appraisal and coping. New York: Springer; 1984.

Chaiwcharn T, Papol A. The stress of nursing student training. EAU Heritage Journal Science and Technology 2021;15(1):21-8. (in Thai)

Abdulnaser A, Diala A, Abdulkarim A. Preliminary psychometric properties of the Arabic version of sheu and colleagues perceived stress scale among nursing students at Jordanian universities. Journal of Multidisciplinary Healthcare 2019;12(1):777-87.

Ahmed W A M, Mohammed B M A. Nursing students' stress and coping strategies during clinical training in KSA. Journal of Taibah University Medical Sciences 2019;14(2):116-22.

Baluwa MA, Lazaro M, Mhango L, Msiska G. Stress and coping strategies among Malawian undergraduate nursing students. Advance in Medical Education and Practice 2021;12(1):547-56.

Welch S R. Clinical stress and clinical performance in prelicensure nursing students: a systematic review. Journal of Nursing Education 2023;62(1):36-41.

Wu C S, Rong J R, Huang M Z. Factors associated with perceived stress of clinical practice among associate degree nursing students in Taiwan. Basic Medical Care Nursing 2021;20(89): 1-12.

Sheu S, Lin H, Hwang S, Yu P, Hu W, Lou M. The development and testing of perceived stress Scale of clinical practice. Nursing Research (Republic of China) 1997;5(4):341-51.

Chuaichum C, Yotinwattanabumrung A, Muentip Y, Saramas N, Jittarat, M. Factors influencing stress of nursing students during clinical practice in adult nursing practicum 1. Journal of Maha Chula University Nakhondhat 2020;7(5):293-308. (in Thai)

Fukfon K, Sriwichai P, Chairinkhom S, Tanyapansin P. Stress and factors related to stress of nursing students regarding the first clinical nursing practice. Journal of Nursing and Health Research 2017;19(1):161-8. (in Thai)

Srinon R, Tingboon W, Sawangket A, Trisayaluk T. Stress and stress management of nursing students during practicing in the labor room. Journal of Nisitwang 2022;24(2):72-80. (in Thai)

Laoratsri P, Intharit J, Thoin P. The nursing instructors’ role in preventing stress and promoting stress management of nursing students during the practicing on ward. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University 2023;15(42):230-8. (in Thai)

Noor N A B M, Bakar R A, Bit-Lian Y. Stress and coping strategies during clinical practices among degree nursing students of a private institution. Malaysian Journal of Nursing 2020;11(3):53-62.

Lowdermilk D L, Perry E, Cashion K, Alden K R. Maternity and women's health care (12th ed). Elsevier; 2020.

Ab Latif R, Nor MZM. Stressors and coping strategies during clinical practice among diploma nursing students. Malaysian Journal of Medical Sciences 2019;26(2):88-98.

Amira Alshowkan. Clinical stress among bachelor nursing students: a qualitative inquiry. Open Journal of Nursing 2022;12(5):305-15.

Yan-xue, Z, Jia-Ru, J, Wen-Nv H. Factors associated with clinical practice stress of nursing students in China. Research Scare [Internet]. 2023 May. 17 [cited 2023 May. 20] Available from: https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-2931331/v1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13