การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ภคพร ตู้จินดา โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • ถิรารัตน์ พูนภัสสร โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • ภรกต สูฝน โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อระยะแรก , ทารกแรกเกิด , แนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรก

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในทารกแรกเกิด

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาฯ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 

ระเบียบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้แนวคิดของเคมมิสและแมกทากาด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ประกอบด้วย กุมารแพทย์ สูติ-นรีแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติ และพยาบาลวิชาชีพ และทารกแรกเกิดที่สงสัยติดเชื้อ จำนวน 55 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารก แบบประเมินความรู้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวัดความพึงพอใจ และแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย: ได้แนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด คือ แนวทางปฏิบัติการประเมินทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อสำหรับพยาบาลวิชาชีพและสำหรับแพทย์ ภายหลังการใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ พบว่าพยาบาลวิชาชีพและแพทย์ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p < .001) และมีคะแนนความพึงพอใจ
ต่อการใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ อยู่ในระดับสูงมาก (M = 4.74, SD = .43) และสำหรับทารก พบว่า ทารกมีอัตราการติดเชื้อลดลงจาก ร้อยละ 31.30 เป็นร้อยละ 20  ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนลดลงจาก 7.90 วัน เป็น 6.80 วัน และค่ารักษาเฉลี่ยลดลงจาก 25,989.43 บาท/ราย เป็น 22,901.73 บาท/ราย

สรุปผล: สามารถใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ ในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อได้

ข้อเสนอแนะ: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลและแพทย์หมุนเวียนและแนวทางปฏิบัติในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด

References

Palatnik A, Liu LY, Lee A, Yee LM. Predictors of early-onset neonatal sepsis or death among newborns born at <32 weeks of gestation. Journal of Perinatology 2019;39(7):949-55.

Berardi A, Sforza F, Baroni L, Spada C, Ambretti S, Biasucci G, et al. Epidemiology and complications of late-onset sepsis: an Italian area-based study. PLOS ONE 2019;14(11):1-15.

Paliwoda M, New K, Bogossian F. Neonatal early warning tools for recognizing and responding to clinical deterioration in neonates cared for in the maternity setting: A retrospective case–control study. International Journal of Nursing Studies 2016;61:125-35

Nursing Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Nursing standards in hospitals. Bangkok: Thammasat University Pres Nursing; 1999.

Husada D, Chanthavanich P, Chotigeat U, Sunttarattiwong P, Sirivichayakul C, Pengsaa K, et al. Predictive model for bacterial late-onset neonatal sepsis in a tertiary care hospital in Thailand. BMC Infectious Diseases 2020;20(1):1-11.

Phon Pisai Hospital. Phonphisai outpatient medical record in 2023. (in Thai)

Kemmis S., Mc Taggart, R. The action research planer (3rded). Victoria: Deakin University; 1988.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner, A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods 2007;39(2):175-91.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (Revised Ed.); 1997.

Early onset: sepsis and pneumonia (24-48 hr). Late onset: meningitis. Intra-partum antibiotic prophylaxis (IPA): prevent GBS dis. Group B streptococcus [Internet]. 2018 [cited 2022 Mar 4] Available from: http://www.phukieo.net/hospital/wp-content/uploads/2017/09/7.Neonatal.pdf

Bloom, B.S Mastery learning. UCLA – CSEIP evaluation comment. Los Angeles: University of California at Los Angeles. 1971.

Kuharattanachai C. Introduction to statistics. Bangkok: The Department of applied statistics, Mahanakorn University of Technology; 1999. (in Thai)

Kuprasit M, Panprasert S. The caring model development of neonatal sepsis at Somdet. Phra Phutthaloetla Hospital in Samutsongkhram: Journal of Public Health Nursing 2021; 35(1): 1-20. (in Thai)

Korrianchai T, Rodparn I, Soonyanon S, Bootcheewan S, Suksalee U. The Development of effective nursing system to prevent drug-resistant infections in newborns. Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital 2019;9(2):113-31. (in Thai)

Benner, P. Form novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 1984.

RItveeradej C. Outcome of the newly developed standardized treatment guideline on Neonatal sepsis. Mahassarakham Hospital Journal 2019;16(3):23-32. (in Thai)

Chompoolong S, Sriruksa S. The development nursing service system of preterm infant in Mahasarakham Hospital and Network. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North- Eastern Division 2013;31(2):151-64. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23