ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หลังหายป่วยเป็นโควิด-19 อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิด-19 , สถานะสุขภาพหลังการป่วยโควิด-19บทคัดย่อ
บทนำ: การสนับสนุนให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถนะปอดและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยตนเองหลังหายป่วยด้วยโควิด-19 จะช่วยลดภาวtแทรกซ้อนหลังหายป่วยได้
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการป่วยด้วยโควิด-19 และสถานะสุขภาพหลังหายป่วยด้วยโควิด-19
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ของตำบลไร่สะท้อน ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 หลังกักตัวครบ 10 วันและไม่เกิน 28 วัน มีคะแนนความเหนื่อยล้า 2 คะแนนขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Line OA โดยพัฒนาจากแนวคิดการจัดการตนเอง เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการป่วยเป็นโควิด-19 และแบบประเมินสถานะสุขภาพหลังป่วยโควิด-19 (Post-COVID Functional Status: PCFS) ระยะการศึกษา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การกำกับตนเอง 3) การประเมินตนเอง และ 4) การเสริมแรงตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซอลซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบ
แมนวิทนีย์ยู
ผลการวิจัย: พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หลังหายป่วยเป็นโควิด-19 สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีสถานะสุขภาพหลังป่วยโควิด-19 ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
สรุปผล: โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 ให้ดีขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ: หน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยเป็นโควิด-19 ได้
Downloads
References
Dong E, Du H, Gardner L. An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time. The Lancet Infectious Diseases 2020;20(5),533–4.
National Research Council of Thailand. Situation report Coronavirus Disease 2019, [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 20]. Available from: https://covid19.nrct.go.th/
World Health Organization. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi Consensus [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 20]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-19_condition-Clinical_case_definition-2021.1 (2021, October 6).
Huang L, Yao Q, Gu X, Wang Q, Ren L, Wang Y, et al. 1-year outcomes in hospital survivors with COVID-19: a longitudinal cohort study. Lancet 2021;398(10302):747–58.
National Institute for Health and Care Excellence (NICE).COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effect of COVID-19 [Internet].2020 [cited 2021 Aug 15]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK567261/pdf/Bookshelf_NBK567261.pdf; 2020.
Department of Disease Control, Ministry of public health. Manual for prevention and control of Coronavirus disease 2019. Bangkok: Thaidbs; 2019. (in Thai)
Phetchaburi Provincial Public Health Office. Situation report Coronavirus disease 2019 Phetchaburi Province [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 20]. Available from: http://pbio.moph.go.th/pbroSection.php?section=COVID-19&page=7 (in Thai)
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Self management support for NCDs: Thai style. Bangkok: Thaidbs; 2017. (in Thai)
Karnboon W. The factors of Line official account that effect to healthcare professional information exposure perception [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2017.
Kanfer, FH. Helping people change. 2nd ed. New York: Pergamon; 1980.
PipopsuthipaiboonI S, Kengganpanich M, Kengganpanich T, Chuaychoo B. The effectiveness of a self-management program for pulmonary rehabilitation of patients with Chronic Obstructive pulmonary disease. Journal of Public Health 2017;(47)2:200-11. (in Thai)
Likitkulthanaporn S, Wattanakul B, and Leardrungchaisakul R. Development of self-management Support for self-management behaviors in the post-COVID 19 patients on residual symptoms in Covid-19 patients Healed. Journal of The Department of Medical Services 2022;47(3):104-12. (in Thai)
Klok FA, Boon GJAM, Barco S, Endres M, Geelhoed JJM, Knauss S, et al. The post-COVID-19 functional status (PCFS) scale: a tool to measure functional status over time after COVID-19. European Respiratory 2020; The European respiratory journal 2020;56(1): 2001494.
Nopp S, Moik F, Klok FA, Gattinger D, Petrovic M, Vonbank K, et al. Outpatient pulmonary rehabilitation in patients with long COVID improves exercise capacity, functional status, dyspnea, fatigue, and Quality of Life. Respiration 2022;101(6):593-601.
Krajangpho S. Effectiveness of program for improving self-care behaviors to prevent COVID-19 of communities among village health volunteers in Pathumthani Province.Journal of The Royal Thai Army Nurses 2021;22(3):479-87. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น