ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ธิสาชล ธันยาวราธร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ไพรวัลย์ โคตรตะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมความผาสุกทางจิตวิญญาณ , ผู้ดูแล, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: ความผาสุกทางจิตวิญญาณเป็นเป้าหมายสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และมีผลต่อสุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อายุ 25 - 59 ปี จำนวน 31 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง .67 - 1.00  และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าคะแนนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Dependent t-test

ผลการวิจัย: เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแล พบว่า คะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ (M = 4.54, SD = .32) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 2.23, SD = .52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 30.48, 95% CI 2.09 - 2.40, p < .001)

สรุปผล:  โปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธสามารถส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรช่วยส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองในชุมชน เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ การร่วมพิธีกรรมทางศาสนา การหาต้นแบบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

References

Saitree R, Chaimay B, Woradet S. Activities of daily living among stroke patients . Academic Journal of Community Public Health [Internet] 2019 [cited 2023 Jan 5];5(2):1-13. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/247053/167908. (in Thai)

Division of Non - Communicable Diseases, Ministry of Public Health. Annual report NCDs 2022. Bangkok: Augsorn Graphic Design; 2022. (in Thai)

Sinsap N, Jankra J, Jaiman B. Hypertension in elderly: silence killer should be aware. Journal of Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi. 2017;28(1):100-11. (in Thai)

Mitapaam K.Development of a care model for acute stroke patients.Bueng Kan: emergency accident department Seka Hospital [Internet]. 2016 [cited 2023 Jan 5]. Available from: https://shorturl.asia/7vPHC. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Stroke [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 5]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease.php. (in Thai)

Kenthongdee V, Kaewkerd O, Chayasit Y, Chaitonthueg T, Armartpundit T, Sanrang P, et al. Factors affecting the spiritual well-being of the elderly. Journal of Environmental and Community Health 2022;7(1):1-8. (in Thai)

Nimu N, Balthip K, Buapetch A. Predicting factors of spiritual well-being in Muslim patients with chronic diseases in the comeback stage of chronic trajectory illness model. Songklanagarind Journal of Nursing 2021;41(1):88-103. (in Thai)

O’Brien ME. The need for spiritual integrity. In: Yura H, Walsh M, editors. Human needs and the nursing process. Norwalk: Appleton; 2011. p. 82-115.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*power 3: a flexible sta-tistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39(2):175-91.

Sangthongdee J. A spiritual well-being care-taking program of relatives of end-stage cancer patient base on buddhist psychology. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2020;5(4):336-50. (in Thai)

Rattanil P, Ketsapichayawattana J. Effects of Buddhist spiritual care on the spiritual well-being of elderly patients with end-stage cancer. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2016;28(3):31-43. (in Thai)

Junma S, Tipwareerom W. Juntarawijit Y. Effects of the social support program on stress and spiritual well – being among care givers of end stage cancer patient [master’s thesis]. Phitsanulok: Naresuan University; 2021. (in Thai)

Panpadung S, Nilmanat K, Kitrungroj L. Impact of a buddhism-based spiritual wellbeing promotion programme on the spiritual wellbeing of family caretakers responsible for hospitalized advanced gynaecological cancer patients. Thai Journal of Nursing Thailand 2015;30(1):16-28. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-20