ผลของการใช้โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และทักษะการดูแล ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • นงคลักษณ์ วงศ์พนารัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ไพรวัลย์ โคตรตะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความรู้, ทักษะผู้ดูแล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลจะช่วยสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอายุ 18 - 59 ปี จำนวน 70 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน 1) โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบประเมินทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตรวจสอบความเที่ยง วิเคราะห์ความเชื่อมั่น KR-20 = .76 และสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทีแบบอิสระ

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและทักษะเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุปผล: โปรแกรมนี้สามารถเพิ่มความรู้และทักษะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ข้อเสนอแนะ:  ควรสนับสนุนให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพ นำโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนไปใช้ เพื่อให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลให้มีประสิทธิภาพโดยการมีต้นแบบสอนและฝึกการหายใจ การไอ การออกกำลังกาย ทำให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease [GOLD]. Global strategy for the diagnosis, management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 17]. Available from: http://www.goldcopd.org/.

Thoracic Society of Thailand Under Royal Patronage. Diagnosis and treatment guideline. Bangkok: Beyond Enterprise; 2017. (in Thai)

Miravitlles M, Ribera A. Understanding the impact of symptoms on the burden of COPD. Respiratory Research [Internet]. 2017 [cited 2022 Oct 17];18(1):67. Available from: https://doi.org/10.1186/s12931-017-0548-3.

Taylor EJ, Jone P, Bures M. Quality of life. In: Lubkin IM, Larser PD, editor. Chronic illness impact and interventions. 4th ed. Boston: Jones & Bartlett; 1998.

Kanchanakijsakul C. Family participation in supporting drug use for Thai elderly with chronic diseases. Journal of Health Science of Thailand 2016;25(2):192-203. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/243 (in Thai)

GRANT JS. Home care problems experienced by stroke survivors and their family caregivers. Home Health care Nurse: The Journal for the Home Care and Hospice Professional. 1996;14(11):892-902. Available from: https://doi.org/10.1097/00004045-199611000-00008.

Sukjit S, Duangthong J, Onmoy P, Thuwakum W. The potential of elderly caregivers in Pa Sao Sub-district, Muang district, Uttaradit province. Journal of Health Science of Thailand 2019;28(Suppl2):S23-S30. Available from: https:// thaidj.org/index.php/JHS/article/view/ 8279 (in Thai)

Health Data Center. Information to respond to the service plan for chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 17]. Available from: https://shorturl.asia/AzJSe. (in Thai)

Duangta N, Liangchawengwong S, Sngunrungsirikul S. Impact of a breathing exercise self-effcacy programme on self-effcacy perception and breathing effciency in chronic obstructive pulmonary disease patients. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2017;32(2):95-110. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/85146 (in Thai)

Bandura, A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84(2):191-215. Available from: https://doi.org/10.1037/0033-295X.84.2.191

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*power 3: a flexible sta-tistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods 2007;39(2):175-91. Available from: https://doi.org/10.3758/BF03193146.

Karunan K. The effect of behavioral change integrated with smoking cessetion self-efficacy program on smoking cessation behaviors and self-effcacy among patients with chronic obstructive pulmonary disease [Master’s thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2016. (in Thai)

Sangseechan T. Provision of information and skill training to caregivers for reducing anxiety in stroke patients care at banphaeo hospital (Public organization). Veridian E-Journal, Slipakorn University [Internet]. 2015 [cited 2022 Dec 22];8(3):572-95. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/48946/40650. (in Thai)

Techama E, Srisuriyawet R, Asawachaisuwikrom W. Effects of knowledge and skills enhancing program for home-based COPD-patient care among community health volunteers. The Public Health Journal of Burapha University 2014;9(1):77-90. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/45549 (in Thai)

Khakhuen S, Jitramontree N, Wirojratana V, Wattanakitkrileart D. Effect of the self-efficacy program on health behavior among oIder adults with chronic obstructive pulmonary disease. Journal of Health and Nursing Education 2018;24(1):57-71. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/131725 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13