ประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโคโรนาไวรัส (โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ชัยชาญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชนกพร ศรีประสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ , การเผชิญความวิตกกังวล , สตรีตั้งครรภ์ , covid-19

บทคัดย่อ

บทนำ: ความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นการทำความเข้าใจโดยการศึกษาเชิงลึกถึงประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวล จึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย: วิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

ระเบียบวิธีวิจัย: ใช้รูปแบบการศึกษาตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Edmund Husserl ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จ.มหาสารคาม จำนวน 17 ราย เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 ใช้เวลาสัมภาษณ์แต่ละครั้งประมาณ 45-60 นาที นำข้อมูลการสัมภาษณ์มาถอดข้อมูลคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามหลักการของ Colaizzi

ผลการวิจัย: พบประเด็นหลัก 5 ประเด็น คือ 1) ความหมายของการเผชิญความวิตกกังวลในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ของสตรีตั้งครรภ์ หมายถึง การลดความวิตกกังวล 2) การแสวงหาความรู้ มี 4 ประเด็นย่อย คือ (1) ค้นหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต (2) ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (3) สอบถามสูติแพทย์ (4) สอบถามเพื่อน 3) ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A เพื่อป้องกันโรคโควิด-19  4) ผ่อนคลายความวิตกกังวล  มี 4 ประเด็นย่อย คือ (1) พยายามไม่คิดมาก (2) ระบายความวิตกกังวลกับครอบครัว (3) ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาพุทธ  (4) ฟังเพลง 5) ความวิตกกังวลลดลง

สรุปผล: สตรีตั้งครรภ์มีการเผชิญความวิตกกังวลโดยการแสวงหาความรู้ การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 และผ่อนคลายความวิตกกังวล

ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ร่วมกับสนับสนุนให้ครอบครัว มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์สามารถเผชิญความวิตกกังวลได้

References

Manmana S, Iamsirithaworn S, Uttayamakul S. Coronavirus disease-19 (COVID-19). bamras. J. 2020;14(2):124-33. (in Thai)

Wirifai S, Luddangam P. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) and pregnancy: challenges for midwifery. JNSU. 2021;22(43):89-102. (in Thai)

Khumphan S, Meepring S, Damchuti I. The mental health status among pregnant women. Journal of Nursing and Health Sciences 2020;14(1):135-44. (in Thai)

Punyavachira P, Wattanapsisit K. Anxiety and depression in pregnancy women with preterm labor in ramathibodi hospital. Mahidol R2R e-Journal [internet]. 2015 [cited 2023 May 31]; 2(1):79-91. Available from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54061.

Blackmore ER, Gustafsson H, Gilchrist M, Wyman C, O’Connor TG. Pregnancy-related anxiety: Evidence of distinct clinical significance from a prospective longitudinal study. J Affect Disord 2015;197:251-8.

Jiramanee A, Baosoung C, Sansiriphun N. Anxiety, childbirth experience and childbirth self-efficacy of pregnant women. Nursing J 2021;48(1):245-56. (in Thai)

Kamfoo K, Singhachotsukpat L, Sillapasuwan J, Wonglappanich R, Suntudngan S. The guidelines for assist teenage pregnancy manage stress during the pandemic of coronavirus. JPMNH 2023;37(2):80-93. (in Thai)

Khoury JE, Atkinson L, Bennett T, Jack SM, Gonzalez A. Coping strategies mediate the associations between COVID-19 experiences and mental health outcomes in pregnancy. AWMH 2021;24:1007-17.

Arpanantikul M. Phenomenology: an application in nursing research. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2020. (in Thai)

Streubert HJ, Carpenter DR. Qualitative research in nursing: advancing the humanistic imperative. 5 th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2011.

Morrow R, Rodriguez A, King N. Colaizzi’s descriptive phenomenological method. The psychologist 2015;28(8):643-4.

Jampawal. State anxiety. Buddhist Psychology Journal. 2018;3(1):13-20.

Jankrajank S, Tachasuksri T, Suppaseemanont W. Factors influencing health information seeking behavior using the internet among pregnant women. JFONUBUU 2021;26(4),1-9. (in Thai)

Panngam N, Nuntaboot K, Senahad N, Klungklang R. Health literacy and factors related to preventive and control behaviors of COVID-19 among pregnant women in the new normal era in a secondary hospital, Khon Kaen. TRC Nurs J 2023;16(1):97-114. (in Thai)

Nuampa S, Tangsuksan P, Chunpia C, Wanasathit W. Experiences of antenatal care attendance and health Information seeking among working pregnant women in the large industry plants: descriptive qualitative study. Nurs Sci J Thail 2020;38(4):44-61. (in Thai)

Thongwon T, Lumpo W, Saenthaweesuk A, Plodrit L, Meechaichana P, Khunkumhaeng N, et al. Challenging Role of Nurse-midwives during the Pandemic of the Coronavirus 2019. Nursing J 2022;49(4):383-402. (in Thai)

Shorey S, Chan V. Lessons from past epidemics and pandemics and a way forward for pregnant women, midwives and nurses during COVID-19 and beyond: a meta-synthesis. Midwifery 2020;90:1-11.

Badon SE, Croen LA, Ferrara A, Ames JL, Hedderson MM, Young-Wolff KC, et al. Coping strategies for COVID-19 pandemic-related stress and mental health during pregnancy. J Affect Disord 2022, 309, 309-313.

Wheeler JM, Misra DP, Giurgescu C. Stress and coping among pregnant black women during the COVID‐19 pandemic. Public Health Nursing 2021;38(4):596-602.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-20