การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด หน่วยระงับปวดเฉียบพลัน: โรงพยาบาลระนอง

ผู้แต่ง

  • ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์ โรงพยาบาลระนอง
  • จินตนา บัวทองจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภานุชนาถ พูสี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความปวดหลังผ่าตัด , การจัดการความปวดหลังผ่าตัด , หน่วยระงับปวดแบบเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

บทนำ: การจัดการความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดภาวะแทรกซ้อนจากวิธีระงับปวดให้น้อยที่สุด การจัดการความปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัดของโรงพยาบาลระนอง มีข้อจำกัดในการติดตามการปฏิบัติตามแนวทางของพยาบาล และบันทึกผลลัพธ์การจัดการความปวด และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระงับปวดชนิดต่างๆ ตลอดจนไม่มีวิสัญญีแพทย์ในกระบวนการพัฒนาแนวทางการจัดการความปวด การพัฒนาแนวทางปฏิบัตินี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ที่ดีและความปลอดภัยของผู้ป่วยระยะเฉียบพลันหลังการผ่าตัด

วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดของหน่วยระงับปวดแบบเฉียบพลันและ 2) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดของหน่วยระงับปวดแบบเฉียบพลัน โรงพยาบาลระนอง

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดของหน่วยระงับปวดแบบเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดแผนกศัลยกรรมและสูตินรีเวช 249 ราย เลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง การดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการจัดการความปวดโดยใช้สถิติ Chi-square

ผลการวิจัย: 1) หน่วยงานมีรูปแบบการจัดการความปวด คือ กำหนดแนวทางการจัดการความปวดร่วมกัน กำหนดทางเลือกในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดหลากหลายรูปแบบ โดยใช้ Doctor’s order sheet การจัดการความปวดแบบเฉียบพลัน บันทึกการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม opioid วินิจฉัยทางการพยาบาลในการจัดการความปวด และการนิเทศติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามรูปแบบการจัดการความปวด 2) ผลลัพธ์การใช้รูปแบบการจัดการความปวด พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจการจัดการความปวดรูปแบบใหม่มากกว่ารูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุปผล: รูปแบบการจัดการความปวดของหน่วยระงับปวดแบบเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย คือ สามารถลดความปวดหลังผ่าตัด อัตราการเกิดอาการไม่    พึงประสงค์จากการใช้ยาระงับปวดต่างๆลดลง และผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการบริการเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ: ควรนำรูปแบบการจัดการความปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด ไปใช้ในหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาลมีรูปแบบการจัดการความปวดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

References

Apkarian, A.V. Definitions of nociception, pain, and chronic pain with implications regarding science and society. Neuroscience letters 2019;702:1-2.

International Association for the Study of Pain. The 2017 IASP global year against pain after surgery [Internet]. 2017 [cited 2023 November 10] Available from: https://www.iasp-pain.org/GlobalYear/AfterSurgery.

Sprouse-Blum, A. S., Smith, G., Sugai, D., & Parsa, F. D. Understanding endorphins and their importance in pain management. Hawaii Medical Journal 2010;69:70-1.

Wongsawatdiwat M, Phaiboonworachart S, Srirat W, Wongphankamol L, Simajareuk S, Thienthong S. Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service. Srinagarind Medical Journal 2008;1:66-73. (in Thai)

Rattanapathumwong P, Yooujaiyen M. Development of clinical practice guidelines for pain management among postorerative patients in the post-anesthesia care unit in Ranong hospital. Journal of Health and Nursing Research 2014;1:86-99. (in Thai)

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Hospital and healthcare standards effective for healthcare accreditation 1st October 2022. 5th. Nonthaburi: Tien Kuang Printing; 2021. (in Thai)

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Patient safety goals of Thailand 2018 patient safety goals: SIMPLE Thailand 2018. Nonthaburi: Famous and Successful; 2018. (in Thai)

Deming WE. The new economics for industry, government, education. 2nd ed: The MIT press; 2000.

Royal College of Anesthesiologists of Thailand and Thai Association For The Study Of Pain. Clinical guidance for acute postoperative pain management Issue 2. Bangkok: Pimluck; 2019. (in Thai)

Subcommittee for Development of Thai National Formulary and National Expert Working Group on Drug Selection, Department of Anesthesiology and Pain Management. Bangkok: Aksorn Graphics and Design; 2016. (in Thai)

Kamolwit S, Ratanapathumwong P. Development of clinical practice guidelines for pain management in postoperative patients Ranong Hospital. Journal of Nursing Division 2014;2:23-40. (in Thai)

American Society of Anesthesiologists Task Force on Acute Pain Management. Practice guidelines for acute pain management in the perioperative setting: an updated report by the American Society of Anesthesiologists Task Force on Acute Pain Management. Anesthesiologists 2012;2:248-73.

Phankongsub P. Chronic postsurgical pain: review article. Journal Chulabhorn Royal Academic 2021;2:60-70. (in Thai)

Ammarinpornchai P., Namwongprom A., Phakdeewong N. The effectiveness of nursing system on pain management in patients with acute pain. Journal of Nursing and Health Care 2015;1:80-7. (in Thai)

Chitsom S., Saenrian B., Tonthong P. Pain management after cesarean section. Regional Health Promotion Center 9 Journal 2022;3:868-81. (in Thai)

Saengthao B. The development monitoring and surveillance systems of sedative drugs and paralytic drugs in ICU Police Hospital. Vajira Nursing Journal 2021;2:70-81. (in Thai)

Kittikornchaichan K. Acute pain management with intravenous paracetamol. Thai Journal of Anesthesiology 2019;3:117-23. (in Thai)

Kishore K, Agarwal A, Gaur A. Acute pain service. Saudi Journal of Anesthesia 2011;5(2): 123-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28