การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่อง
คำสำคัญ:
ทบทวนรูปแบบทางการพยาบาล , ผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง , แผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่บกพร่องบทคัดย่อ
บทนำ: คุณภาพการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องจากการพัฒนารูปแบบการดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถลดการสูญเสียอวัยวะ และการรักษาที่ยาวนานโดยไม่จำเป็น
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 คนและผู้ป่วยจำนวน 47 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ ระยะที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน และแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์กลุ่ม ระยะที่ 2 แบบบันทึกความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 ได้แก่ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่อง และ 2) แบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบ
ผลการวิจัย: ระยะที่ 1 พบว่า 1) ปัญหาความต้องการด้านความปลอดภัยและระบบการเข้ารับบริการ 2) ข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรูปแบบเดิมจากคลินิกออสโตมีและแผล พบว่า ขนาดของแผลลดลง (13.47 - 57.78 cm2, p<.01) ระยะเวลาการฟื้นหายลดลง (.59 - 4.84 ปี, p<.01) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบและตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 47 ราย เปรียบเทียบผลในผู้ป่วยรายเดิมที่ได้รับรูปแบบการดูแลที่แตกต่างกันในช่วงต่างระยะเวลา ความก้าวหน้าของแผลดีขึ้น ขนาดของแผลลดลง (32.33 - 127.78 cm2, p< .01) ระยะเวลาการฟื้นหายลดลง (3.59 - 6.84 วัน, p< .01), ความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปผล: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องส่งผลกับการฟื้นหายบาดแผลได้ดี
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการนำรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องที่พัฒนาขึ้นเผยแพร่หรือขยายผลการใช้รูปแบบอย่างบูรณาการและคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกัน
Downloads
References
Bonkemeyer Millan S, Gan R, Townsend PE. Venous ulcers: diagnosis and treatment. American Family Physician 2019;100(5):298-305.
Kanchanabat B, Ruangsetakit C, Stapanavatr W. Clinical characteristics of Thai chronic venous insufficiency (CVI) patients. Journal of the Medical Association of Thailand 2017;100:17-23. (in Thai)
Sermsathanasawadi N, Pruekprasert K, Pitaksantayothin W, Chinsakchai K, Wongwanit C, Ruangsetakit C, et al. Prevalence, risk factors, and evaluation of iliocaval obstruction in advance chronic venous insufficiency. Journal of Vascular Surgery: Venous and Lymphatic Disorders 2019;7:441-7. (in Thai)
Negus D, Smith PDC, Bergan JJ. Leg ulcer diagnosis and management. 3rd ed. London: CRC Press; 2005.
Wittens C, Davies AH, Baekgaard N, Broholm R, Cavezzi A, Chastanet S, et al. Editor’s choice-management of chronic venous disease: clinical practice guidelines of the European Society of Vascular Surgery (ESVS).European Journal of Vascular and Endovascular Surgery 2015; 49:678-37.
The Healthcare Accreditation Institute Public Organization. 2P Safety Hospital [Internet]. 2018 [cited 2022 Jan 18]. Available form: http://134.236.247.146:8080/edoc1/uploads/DocNum_20211110172458.pdf
Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. Statistical [Internet]. 2022 [cited 2022 Feb 5]. Available form: http://app.ayhosp.go.th/report/opd_year.php. (in Thai)
Sermsathanasawadi N, Chatjaturapat C, Pianchareonsin R, Puangpunngam N, Wongwanit C, Chinsakchai K, et al. Use of customised pressure-guided elastic bandages to improve efficacy of compression bandaging for venous ulcers. International Wound Journal 2017;14(4):636-40.
Harnyoot Orranun. Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):137-43. (in Thai)
Institute of Medical Research & Technology Assessment. Appraisal of guideline for research & evaluation II; AGREE II [Internet]. 2013 [cited 2023 Jan 18]. Available form: https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf. (in Thai)
De Carvalho MR, Peixoto BU, Silveira IA, Oliveria BGRB. A Meta-analysis to compare four-layer to short-stretch compression bandaging for venous leg ulcer healing. Ostomy Wound Manage 2018;64(5):30-7.
Larsen DL, Attkison, CC, Hargreaves WA, Nguyen TD. Assessment of client/ patient satisfaction: Development of a general scale. Evaluation and Program Planning 1979;2(3):197-207.
Kongsakon R, Jareonsettasin T. Reliability and validity of a new measure of patient satisfaction (CSQ-8) Thai version with psychiatric care. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2000;45(2):155-6. (in Thai)
Southeastern Sydney Local Health District (SESLHD) Wound Committee. Wound – graduated compression therapy (GCT) in Venous disease [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 18]. Availableform: https://www.seslhd.health.nsw.gov.au/sites/default/files/documents/SESLHDPR281.pdf
Jiménez-García JF, Aguilera-Manrique G, Arboledas-Bellón J, Gutiérrez-García M, González-Jiménez F, Lafuente-Robles N, et al. The effectiveness of advanced practice nurses with respect to complex chronic wounds in the management of venous ulcers. Journal of Environmental Research and Public Health 2019;16(24):5037-50.
Montoya S.B., Sánchez S.D., Neváez I.S., Camps E.F., Quesada F.F., Farrés P. Criterios de derivación entre niveles asistenciales de pacientes con enfermedad vascular. Documento de consenso SEMFYC-SEACV. Atención Primaria 2012;44:556–61.
De Carvalho MR, Peixoto BU, Silveira IA, Oliveria BGRB. A Meta-analysis to compare four-layer to short-stretch compression bandaging for venous leg ulcer healing. Ostomy Wound Manage 2018;64(5):30-7.
Boochangkool Nuttorn. Advanced wound dressing. Thammasat Medical Journal 2017;17(3):402-7. (in Thai)
Ren SY, Liu YS, Zhu GJ, et al. Strategies and challenges in the treatment of chronic venous leg ulcers. World Journal of Clinical Cases 2020;8(21):5070-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น