การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้ป่วย , โรคหลอดเลือดสมอง , โรงพยาบาลสู่ชุมชน , ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัติประจำวันบทคัดย่อ
บทนำ: การดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้านช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีการฟื้นฟูสภาพที่ดีขึ้น และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัติประจำวันเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ
ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบการวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบฯ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแล ทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายชุมชน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นคำถามกึ่งโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และความพึงพอใจ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิตพรรณนาและสถิติทดสอบที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: พบว่า 1) การศึกษาสถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนพบว่า ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความมั่นใจในการดูแลฟื้นฟูสุขภาพตนเอง การส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชนไม่ต่อเนื่อง เกณฑ์การเยี่ยมบ้านไม่ชัดเจน 2) รูปแบบฯที่พัฒนามีการจัดทำแนวปฏิบัติ คู่มือ แนวทางการเยี่ยมบ้าน และระบบการส่งต่อข้อมูลการเยี่ยมบ้าน 3) ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้นจากก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วย ทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายชุมชน สามารถเพิ่มระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้
ข้อเสนอแนะ: ควรมีรูปแบบการฟื้นฟูที่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันน้อย เพื่อให้การฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Downloads
References
Strategy and Planning Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Public Health Statistics. Bangkok: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)
Manosoontorn S. Stroke prediction report. Bangkok: Bureau of Noncommunicable Diseases Department of Disease Control; 2014. (in Thai)
Somsak T. Stroke situation. Journal of Neurology of Thailand 2021;37:54-60. (in Thai)
Health Data Center Ministry of Public Health, Mahasarakham. Information to meet the stroke service plan [Internet]. 2020 [cited 2020 August 20]. Available from: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php (in Thai)
Tantirittisak T, Teeraworawong T. Rehabilitation of stroke patients. Bangkok: Thanaplace; 2019. (in Thai)
Massakulpan P, SaringKaringul T, Reewtong G, Timayom P, Wicheinpisarn P. Guidelines for rehabilitation of stroke patients. 3rd ed. Bangkok: Thanaplace; 2016. (in Thai)
Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hondmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: translating evidence into action. [Internet]. 2020 [cited 2020 August 20]. Available from: http://content.healthaffairs.org/content (in Thai)
Ruthawongsa A. Development of case management guideline for the health care of new stroke patients at Kosumphisai Hospital, MaHahasarakham Province. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2019;24:22-39. (in Thai)
Sil T. Development of a model for caring for stroke patients at home. Sawanpracharak Medical Journal 2020;17:112-24. (in Thai)
Neuroscience Institute. Nursing guidelines for stroke patients. Bangkok: Thanaplace; 2016. (in Thai)
Muntee W, Moonkong S, Sirapongam Y, Leelajarus S. Results of the care program for stroke patients and caregiver: transition period from hospital to home, ability to perform daily activities, complications and patient satisfaction. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2016;31:95-109 (in Thai)
Pinyo P. The development of care for stroke patients with the participation of community in the Northeastern context. SangkhlaNakarin Journal of Nursing 2015;35:93-112. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น