ประสิทธิภาพการใช้หุ่นตรวจทารกในครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลตามรูปแบบการสอบทักษะทางคลินิก
คำสำคัญ:
หุ่นตรวจทารกในครรภ์ , ความรู้การตรวจครรภ์ , ทักษะการตรวจครรภ์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ : นวัตกรรมทางการพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางการพยาบาลในสังคมปกติวิถีใหม่ ที่ช่วยลดการสัมผัสผู้รับบริการ และเสริมสร้างความมั่นใจให้การพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
วัตถุประสงค์การวิจัย :เพื่อประเมินความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์จากการใช้หุ่นตรวจทารกในครรภ์ Simulation Pregnancy Model เมื่อเทียบเกณฑ์ผ่านมาตรฐานร้อยละ 70 ตามรูปแบบการสอบทักษะทางคลินิค (OSCE)
ระเบียบวิธีวิจัย :การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 – 2564 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หุ่นตรวจทารกในครรภ์ Simulation Pregnancy Model แบบทดสอบความรู้ และแบบวัดทักษะการตรวจครรภ์ตามรูปแบบการสอบทักษะทางคลีนิค (OSCE) มีค่าความตรงตามเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.84 ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบความรู้ KR -20 เท่ากับ 0.63 และค่าความเชื่อมั่นแบบวัดทักษะการตรวจครรภ์ตามรูปแบบการสอบทักษะทางคลีนิค (OSCE) เท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย และค่าสถิติ paired Sample t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย : 1) คะแนนความรู้หลังจากใช้หุ่นตรวจทารกในครรภ์เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(43)= -21.536, p<.001) 2) คะแนนทักษะการตรวจครรภ์ตามรูปแบบการสอบทักษะทางคลีนิค (OSCE) หลังจากใช้หุ่นตรวจทารกในครรภ์ เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(42)= -19.065, p<.001) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ผ่านตามมาตรฐานร้อยละ 70 ของรายวิชาปฎิบัติการพยาบาล
สรุปผล : การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมหุ่นตรวจทารกในครรภ์มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้ และทักษะการตรวจครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาทักษะทางการพยาบาลแก่นักศึกษา และมีการทบทวนทักษะทางการพยาบาลแก่พยาบาลวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
Downloads
References
Hongnoi D. The Effective of Simulation pregnancy box on learning of nursing student of Boromarajonani College of Nursing Bangkok. Research Report. Boromarajonani College of Nursing Bangkok. 2018. (in Thai)
Kaoaiem H. and Duandee K. The Evaluation of Pregnancy Model and VCD of Obstetrical examinationin Pregnant women among nursing student of Royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2013;14(3):189-95. (in Thai)
Kaoaiem H. and Duandee K. The Evaluation of Abnormal Pregnancy Model in Obstetrical Examination Among 3rd Year Nursing Student of Royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(2):155-9. (in Thai)
Gerdprasert S and Phumonsakul S. The perceptions of nursing students and instructors of Midwifery Practicum course on the midwifery clinical skill laboratory practice before undergoing to labour ward. Rama Nurs J 2013;19(3):400-15.
World Health Organization. Nurses and midwives for health: A WHO European strategy for nursing and midwifery education. World Health Organization, Copenhagen. 1999.
Klangsin S., Suwanrath C.,Khanuengkikong S.,Saeaib N and Boonkumnerd S. The Comparison of Skills in the Objective Structured Clinical Examintion Scores of 6th Year Medical Students in Department of Obstetrics and Gynecology.Songklanagarind Medical Journal 2016;34(6):331-8. (in Thai)
Lertbunnaphong T. Simulation Based Medical Education. Siriraj Medical Bulletin 2015;8(1):39-46.
Srisuk K. Research methodology. Krongchang Printing. 2009. (in Thai)
Lohapaiboonkul N. and Palakarn B. The Effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) Test to Evaluate The Knowledge and Clinical Skills in Basic Medical Treatment and Perceive of Preceptors from Community of The Clinical Skills of Nursing Students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2014;13(2):24-34. (in Thai)
Ekthamasuth C., Taweesuk P.,and Choijoho R. The Development of Objective–Structured Clinical Examination Instrument in Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum II. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(3):27-37. (in Thai)
Driver, R and Oldham V. A constructivist approach to curriculum development. Studies in Science Education. 1986;13:105-22.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review1977; 84(2):191-215.
Suwannakeeree W., Jullmusi O. and Tangkawanich T. Simulation-Based Learning Management for Nursing Students. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2016;28(2):1-13. (in Thai)
Klaypeth P. Achievement and Self-Efficacy of Nursing Clinical Skills with Objective Structured Clinical Examination (OSCE) of Nursing Students. NRRU Community Research Journal 2020;14(3):144-54. (in Thai)
Norkaeo D., Kangyang M., Buranarom P., Taveekaew C., Kanbupar N. and Promwong W. The Effect of High-Fidelity Simulation Teaching Program on Student Nurses’ Knowledge, Skill, and Self-efficacy regarding Nursing Care for Pregnant. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2019;29(3):53-65. (in Thai)
Hall SW. High-Fidelity Simulation for Senior Maternity Nursing Students. Nursing Education Perspectives 2016;36(2):124-6.
Tantalanukul S., Rattanasak S., Sengpanich C., Srisung W.and Tungkawanich T.The Effect of Simulation-Based Learning on the Ability Development of Primary Medical Care Practicum of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2016;28(2):1-13. (in Thai)
Houghton C.E.,Casey D.,Shaw D.and Murphy K. Staff and students perceptions and experiences of teaching and assessment in clinical skills laboratories: Interview findings from a multiple case study. Nurse Education Today.2012.;32(6):621-728.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น