ผลของการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะปฏิบัติการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • อุบล สุทธิเนียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • เสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์
  • จินตนา รังษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

สถานการณ์จำลองเสมือนจริง , ความรู้, การรับรู้ความสามารถของตนเอง , การประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ: การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง มีความสำคัญในการส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะปฏิบัติการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ที่ฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 จำนวน 69 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะปฏิบัติการพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

สรุปผล: การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทำให้นักศึกษามีความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีกิจกรรมที่เลียนแบบความเป็นจริงบนหอผู้ป่วย นักศึกษาฝึกการนำความรู้ไปใช้ ได้ประสบการณ์ของการปฏิบัติทักษะจริง จึงมีความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่ดีขึ้น

ข้อเสนอแนะ: ควรสนับสนุนให้รายวิชาทางการพยาบาลจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์อื่นที่ทำให้นักศึกษาไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยจริงได้

References

Office of the Council of State. National Education Act B.E. 2552 and B.E.2553. [cited 2019 Feb 2]. Available from https://person.mwit.ac.th/01-statutes/NationalEducation.pdf. (in Thai)

Panich V. 21st Century education. Lecture at Chiang Mai University [cited 2018 Sep 1]. Available from www.cola.kku.ac.th/main2/images/POR/KM/2557/vicharm_CMU _570718_N.pdf. (in Thai)

Kunaviktikul W. Teaching and learning in the discipline of nursing in the 21st century. Nursing Journal. 2015;42(2):152-6. (in Thai)

Sinthuchai S., Ubolwan K. Fidelity simulation based learning: Implementation to learning and teaching management. Journal of The Royal Thai Army Nurses; 2017; 18(1):29-38. (in Thai)

Office of the Council of State. National Education Act B.E. 2552 and B.E.2553. [cited 2016 Oct 20]. Available from: https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/National Education. pdf. (in Thai)

Wisawatapnimit P, Suttineam U, Kiatseesakul J. Effect of simulation-based learning model for nursing practicum preparedness for patients with congestive heart failure on students’ satisfaction and self-confidence in learning of the third year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):1-11. (in Thai)

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84(2):191-215.

Phanjiraphak W. Effects of an exercise program on health promotion among elderly women in Samutprakan province [master’s thesis]. Chonburi: Burapha university; 2011. (in Thai)

Norman J. Systematic review of the literature on simulation in nursing education. The Association of Black Nursing Faculty Journal. 2012;23(2):24-8.

Hsin-Hsin L. Effectiveness of simulation-based learning on student nurses' self-efficacy and performance while learning fundamental nursing skills. Technology and Health Care 2016; 24(s1):S369-S375.

Hung CC, Kao HFS, Liu HC, Liang HF, Chu TP, Lee BO. Effects of simulation-based learning on nursing students’ perceived competence, self-efficacy, and learning satisfaction: A repeat measurement method. Nurse education today[Internet]. 2020 [cited 2021 March18]; Available from: https://www.researchgate.net/publication.

El-deen AAAG, Bahgat RS, Khalil AMS. Impact of using simulation based learning on nursing students’ performance, self- efficacy, satisfaction and confidence during pediatric injection administration. Tanta Scientific Nursing Journal 2015;9(2):184-205.

Younis G.A, Al-Metyazidy HA. Effectiveness of high fidelity simulation versus traditional clinical teaching strategies on undergraduate nursing students' achievement. International Journal of Nursing Didactics 2016;6(7):1-13.

Hall RM. Effects of high fidelity simulation on knowledge acquisition, self- confidence, and satisfaction with baccalaureate nursing students using the Solomon- four research design. [Internet]. 2013[cited 2018 Feb 12]; Available from http://dc.etsu.edu/etd.

Jermworapipat S, Sirisupluxana P, Paiboontananon J, DhabDhimsri V, Kemkhan P. The effect of objective structured clinical examinations (OSCEs) assessment for the clinical skills and satisfaction of adult and elderly nursing comprehensive practice achievement test in junior nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2017;33(3): 91-100. (in Thai)

Kumkong M, Leejareon P, Aramrom Y, Jitviboon A. Effects of simulation-based learning on perceived self-efficacy in providing nursing care for advanced life support to patients with critical illness or emergency condition among nursing students. The Southern college Network Journal of Nursing and Public Health 2016;3(3): 64-52. (in Thai)

Thamnamsin K, Punyapet K, Noitung S, Artsanthia J. The effect of teaching simulation-based learning program to the knowledge in basic medical care of nursing students. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;9(Special Issue):80-88. (in Thai)

Wuttisakpisarn S, Chudjuajeen S, Taonol K. Effects of high-fidelity simulation based learning for preparation of practice on knowledge, satisfaction, and self-confidence. Journal of Health Science Research 2020;14(2):70-81. (in Thai)

Park SN, Chu MS, Hwang YY, Kim SH, Lee SK. Effects of integrated nursing practices simulation-based learning training on stress, interest in learning, and problem-solving ability of nursing students. Journal of Korean Academic Fundamental Nursing 2015; 22(4):424-32.

Lertlum L, Tanasansutee C, Panawatthanapisuit S, Bumrungsri C. Development of a

simulation-based learning model. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2019;6(special issue). (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01