การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: อะไรที่พระสงฆ์ต้องการ
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, สุขภาพพระสงฆ์, ความต้องการทางสุขภาพบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: พระสงฆ์เป็นกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ การพัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อย่างยั่งยืนต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน
วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม 2) เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบวิจัยผสานวิธี The QUAN-QUAL Model (Triangulation Mixed Design) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณคือ พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 379 รูป กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย: พบว่า 1) พระสงฆ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง และต้องการให้มีกิจกรรมถวายความรู้ที่วัด 2) พระสงฆ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมดี แต่ยังฉันอาหารหวานจัดและไขมันสูง และการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 3) การจัดสิ่งแวดล้อมภายในวัดเอื้อให้พระสงฆ์มีสุขภาพดี แต่ยังต้องการการจัดการสัตว์นำโรคและสัตว์จรจัด รวมถึงการปรับห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ 4) พระสงฆ์ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ 5) พระสงฆ์ได้รับการดูแลจากฆราวาสมากที่สุดเรื่องการจัดอาหารถวาย 6) พระสงฆ์มีความพึงพอใจต่อระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในระดับปานกลาง และต้องการให้ปรับปรุงบริการสำหรับพระสงฆ์ให้เหมาะสมกับข้อจำกัดทางวินัยสงฆ์ จากข้อค้นพบนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ 4 ด้าน คือ ด้านพระสงฆ์ ด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้านประชาชน และด้านการบริหารจัดการ
สรุป: การพัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่ยังพบว่าเป็นปัญหาอยู่
ข้อเสนอแนะ: ผู้รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ควรพิจารณานำข้อค้นพบจากการศึกษานี้ ไปเป็นแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
Downloads
References
National Statistical Office. Results of the 2018 Social, Cultural and Mental Health Survey [Internet]. 2020 [cited 2020 November 1]. Available from: http://www.
nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N21-09-61-1.aspx. (in Thai)
Wuttisaksakul K. Factors Related to Health Behaviors of Monks in Fang District, Chiangmai. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office 2018;24(1): 71-83. (in Thai)
Longchareon W. Health Behavior of Buddhist Monk in Amphoe Muang, Chanthaburi Province. [master,s degree]. Burapha University;2014. (in Thai)
Sifa S. The Study of Health Promoting Behavior of Monks in Pattani Province. [master,s degree]. Songkla: Prince of Songkla University;2017. (in Thai)
Khaosod. Health Check Up of 100,000 Monks [Internet]. 2019 [cited 2020 November 1]. Available from: https://www.nationalhealth.or.th/sites/ default/files/upload_files/
iq_621225_8762.pdf. (in Thai)
PraKru Suvithanpatthanabandi, Daengharn T, Vapuchavitee S. Model Development of Monk’s Holistic Health Care in Khon Kaen Province. Journal of the Office of DPC 6 Khon Kaen 2015;22(2): 117-29. (in Thai)
Hfocus. Monks and the health insurance system A big problem that still needs a lot of driving. [Internet].2018 [cited 2021August 23]; Available from: https://www.
hfocus.org/content/2018/09/. (in Thai)
Boutkhamuan S. Self-Care of Monks in Dusit district, Bangkok. [Thesis of Master degree]. Bangkok: Thammasat University;2016. (in Thai)
PraKru Piphitsutathorn, Pramaha Prayoon Chothivaro, Boonyasopit W, Posayanon T, Larpthananon P, Yodmongkol N, et al. National Monk Health Constitution 2017. 6thed. Bangkok: O.S. Print House Co.,Ltd.;2017.(in Thai).
Nakkanrian M, Nakkanrian B, Saramart C. A Synthesis of Researches in Monks’Health Promotion During 2013-2018. Journal of Yanasangvorn Research Institute 2020;11(1): 13-23. (in Thai)
Division of Health Education, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Strategies for Health Literacy and Health Behavior Promotion. Bangkok: Sam Charoen Panich Co.,Ltd.;2018. (in Thai).
Kanchanawasi T, Kanchanawasi S. Research Methodology. 3rd ed. Bangkok: 3B Printing and Rubber Stamp Co.,Ltd.;2020. (in Thai)
Buddhist Clergy, Mueang Nakhon Ratchasima District. Temple Visit to Evaluate the Five-Precept Village Project and Support the Training Unit of Local Government Organization, Nakhon Ratchasima Province in 2020 [Internet]. 2020 [cited 2020 November 1]; Available from: http://www.songkorat.com/. (in Thai).
Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.
Sandelowski, M. Focus on Research Methods: Whatever Happened to Qualitative Description?. Research in Nursing & Health 2000;23:334-40.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. Qualitative data analysis: An expanded sourcebook.2nd ed. Sage Publications, Inc; 1994.
Tiparat W, Suwanweala S, Sumrit W. The Effects of Self-Awareness Development Program on Stroke Prevention Behaviors among Hypertension Patients in Muang District, Trang Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4(2):94-107. (in Thai)
Sukolrattanametee P. Consumer's Health Knowledge, Motivation, Consciousness, Behavior and Communication Behavior. [Internet].2009 [cited 2021August 23]; Available from: https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1998812. (in Thai).
Hfocus. Survey of Smoking in Monks. [Internet].2019 [cited 2021August 23]; Available from: https://www.hfocus.org/ content/2019/09/17751. (in Thai)
Thairath. A Sampling of Rat Population in markets [Internet]. 2019 [cited 2021August 23]; Available from: https://www.thairath.co.th/news/society/1655766. (in Thai)
Bangkokbiznews. Dogs, the Pet Problem in Thai Society [Internet]. 2019 [cited 2021August 23]; Available from: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/
(in Thai)
Rattanai S. Elder care manual. 1st ed. Bangkok: Sangdaw; 2012. (in Thai).
Monks at Wat Na Pa Phong. Ariyavinai [Internet]. 2009 [cited 2021 August 23]; Available from: https://download.watnapahpong.org/data/static_media/อริยวินัย_2.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น