การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน ตำบลท่าหาดยาว อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ศรีคำภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุทธีพร มูลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการโรค , โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , ชุมชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        บทนำ: การจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนมีความสำคัญในการค้นหาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงและช่วยให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน พัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนที่พัฒนาขึ้น

         ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผู้ดูแล จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมผู้ให้บริการสุขภาพ แกนนำชุมชน และผู้ประกอบการท่าทราย จำนวน 15 คน และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 243 คน ซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มถูกสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1)  แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการระดมสมองฯ 3)  แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .83 และ .97 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .81 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบวิลคอกซันไซน์แรงค์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ อาการไอ หอบเหนื่อย เครียด น้อยใจครอบครัวที่ไม่เข้าใจการเจ็บป่วย มีความต้องการยาพ่น ผู้ดูแล รถส่งไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการฉุกเฉิน และการแก้ไขมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 2) รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย (1) กลุ่มประชาชน ที่มีอายุ 40 ปีขึ้น ควรได้รับการคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งเสริมความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง (2) กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรได้รับความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (3) กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และ 3) รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนที่พัฒนาขึ้น ทำให้ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการจัดการโรค และสมรรถนะทางปอดของกลุ่มตัวอย่าง ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

           สรุปผล: รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน ทำให้มีการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยรูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งในชุมชนได้รับการทดสอบและพบว่ารูปแบบฯ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อกลุ่มตัวอย่าง

          ข้อเสนอแนะ: รูปแบบในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคและโปรแกรมควบคุมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในพื้นที่ศึกษาได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Working Group for the Development of Public Health Service Practices Chronic Obstructive Pulmonary Disease. COPD Public Health Service Guidelines .Ultra Violet Union.Bangkok. 2020:24:13-7.

Asthma Foundation of Thailand. Asthma patient club. World Inflammation Day Campaign, Asthma Patient Club and Lung Health Center. (2013). Year 20 No. 62: 5. (in Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases. Department of Disease Control. Ministry of Public Health. Situation and Results of NCD Prevention and Control. In the 2016 Annual Report: The War Veterans Organization Publishing House, (2016). Bangkok. (in Thai)

American Thoracic Society & European Respiratory Society. Standard for the diagnosis and management of patient with chronic obstructive pulmonary disease. American Thoracic Society. [Internet]. (2011). Jan/Feb [cited 2019 Dec 23];68(1):9-14. Available from http:// www.thoracic.org/clinical guidelines/resources/COPD doc.pdf.

Public Health Development Group Bureau of Non-communicable Diseases Department of Disease Control.World COPD Day campaign issues. [Internet]. (2020) Nov/Dec (cited 2020 Dec 12) Available from http://www.Thai NCD.com/document/file/info/non-communicable-disease/160.pdf.

Health Data Centre Ministry of Public Health..MOPH .go.th/HDC/documents/document.php [Internet]. (2019 May 22) Available from:https://HDC /service.com.

Uravechs Association of Thailand.Diagnosis Guidelines COPD in Thailand (Revised 2015). Uravechs Association of Thailand, [Internet]. (2020) July/Dec (cited 2020 July 12) Available from https://www.thoracicsocietythai.org/guidelines.

Bureau of Non-communicable Diseases, Department of Disease Control. Ministry of Public Health.

Situation and Results of NCD Prevention and Control. [Internet].2020) Nov/Dec (cited 2020 Dec 12)

Available from Annual Report (Annual REPORT 2015). Available from

http://www.thai ncd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf.

Phosawang N, Srisong S,Suporn P. The development of a nursing model for patients with chronic obstructive pulmonary disease Using social support. Journal of Nursing and Health Care.2015: 33(1):50-62.

Tachama A . To study the effects of using the knowledge and skills enhancement program for home care of COPD patients In village health volunteers.(Master of Nursing Thesis, Major Community Practice Nursing),Chanburi.Burapha University.(2012).

Phonkon C.Develop a participatory action research model in taking care of chronic obstructive pulmonary disease patients from the hospital to the community via digital systems in the district. Health Center Service Area 11, Nakhon Si Thammarat Province. [Internet].2020) Nov/Dec (cited 2020 May 12) Available from http://www.hpc11.go.th /web 60/upload/07/2018.

Crumholz, HM, Currie, PM, Riegel, B, Phillips, CO, Peterson, ED, Smith, R, Yancy, CW & Faxon, DP.. A Taxonomy for Disease Management : A Scientific statement from the American Heart Association Disease Management Taxonomy Writing Group Circulation ,114. 1432-1145 et al. (2006). Retrieved from http://ahajournals.org by on July 24,(2020)

Wangsom A. Dyspnea management in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing.2015:27 (1)1-12. (in Thai)

Lorga T. Predicting breathlessness symptoms in older adults with chronic obstructive pulmonary disease. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang (2018).24(2),142-54. (in thai)

Jantiya M,Chumnanseaw P,Kunapan P.Quality of life of COPD patients receiving services Saraburi Hospital.Ramathibodi nursing jounal.2011:7(2)328-40. (in Thai)

Yasamud P.Developing holistic and comprehensive care for chronic obstructive pulmonary disease patients with the participation of health service network partners Ban Hong District, Lamphun Province .Journal of Health Science.2020:29(2):282-92. (in Thai)

Anoma S,Chonnung W. Assessment of cardiac function, and lungs with a 6-minute walk test. Siriraj Medical Bulletin. 2020:11(1),57-64.

Boonsawad W. Easy Asthma Clinic 5th BGH Annual academic meeting: from the basic to the top in medicine.Sarungthip Offset Limited Partnership, [Internet].2020) May/June (cited 2020 May 23) Available from http://www.easyasthma.com/index.php.

Sirikul P,Putthapitukpol S,Sangmanee R. The effect of caring model for patients with chronic obstructive pulmonary disease in the community after discharge from Sungaipadi hospital, Narathiwas province. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing.2017:28(1) 58-9. (in Thai)

Yumin Zhou,et al. Community based integrated intervention for prevention and management of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) in Guangdong, China: cluster randomized controlled trial. [Internet].2020) May/June (cited 2020 Feb 2. Available from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.

Puwilai K, Oba N. Tansuphasawadikul S, Siripornpibul T. Selection factors that predict quality of life in chronic obstructive pulmonary disease patients. Journal of Nursing and Health Sciences.2012:6(1) 12-24. (in Thai)

Chauytay T.Effect of self-management support program in COPD patients on knowledge self-management behavior, symptoms, dyspnea and pulmonary function. Thai Journal of Nursing, 2020:69(2), 11-20. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01