ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธัญญาลักษณ์ นาครินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มลินี สมภพเจริญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว , นักศึกษา, พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ: นักศึกษามหาวิทยาลัยมีความนิยมการมีผิวขาว และในปัจจุบันพบผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต การแสดงฉลากเครื่องสำอางที่ไม่ถูกต้อง การโฆษณาโอ้อวดเกินจริงผ่านสื่อต่าง ๆ และการหลอกลวงในเรื่องที่มาหรือแหล่งผลิตรวมถึงการแสดงเลขที่ใบรับแจ้งปลอม นอกจากนี้ยังพบปัญหาการลักลอบใช้สารต้องห้าม เช่น ปรอท ไฮโดรควิโนน เป็นต้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 

ระเบียบวิธีการวิจัย: การสำรวจแบบตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบด้วยความตรงของเนื้อหาและวิเคราะห์หาความเที่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย: ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวชนิดทาภายนอก รองลงมาการรับประทาน ร้อยละ38.64  และการฉีด ร้อยละ 11.36 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ได้แก่ อายุ บุคคลที่พักอาศัยด้วย เจตคติต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การรับรู้ความรุนแรงต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว อิทธิพลจากเพื่อน อิทธิพลจากครอบครัว อิทธิพลจากบุคคลที่ชื่นชอบ อิทธิพลจากบุคลากรทางการแพทย์ อิทธิพลจากพนักงานขาย และอิทธิพลปัจจัยเสริมภาพรวม

ข้อเสนอแนะ: สามารถเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว และออกมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความขาวสามารถแก้ไขปัญหาให้ทันกับสถานการณ์ที่งานวิจัยนี้ค้นพบต่อไป ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

References

1. Athit Phandet. Empowering consumers across Thailand Unite to report illegal health products and complain to the FDA with the mission to protect consumers on health products. FDA Journal 2014:76-8.
2. KesornPrasongkool1 , Chidchanok Ruengorn. Analysis of the Situation on Contamination of Prohibited Harmful Substances in Facial Cosmetics In AmphurNangrong, Buriram Province During 2013-2016. Thai Journal of. Pharmacy Practice 2017;9(2):361-9.
3. Cosmetic Control Group Food and Drug Administration. List of establishments that have GMP certification [Internet]. 2019 [cited 2020 January 10]. Available from: http://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/ViewGMP
4. Orasa Phucharern, Atthaphol Rodkaew, Chitsirin Konkong. Knowledge attitude and consumer behavior of Glutathione products among university students. PSRU Journal of Science and Technology 2018; 3(3):50-63.
5. Thaksinee Sripon, Benjamaporn Kesama, Suttasinee Suwannakul, Narongchai Chaksupa, Suwanna Phattarabenjapol. The use of glutathione for whitening skin among UbonRatchathani University students according to the theory of planned behavior. IJPS 2016;11(Supplement): 171-8.
6. Green, L. W., & Kreuter, M. W. Health promotion planning: An educational and ecological approach (3rd ed.). Mountain View, CA: Mayfield; (1999).
7. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University Ramathibodi Pharmacy. Dangers of banned substances in cosmetics [Internet]. 2019 [cited 2020 April 10]. Available from: www.med.mahidol.ac.th
8. Paponson Klanruangsang. Decision Making About Skin Whitening Products among Undergraduate Student in Bangkok. KKU RESEARCH JOURNAL (GRADUATE STUDY) 2018;18(1):13-23.
9. Chutima Sritoomma. Dietary Supplement Consumption Behaviour of Bachelor’s Degree Students in Social Sciences, Khon Kaen University. KKU Journal for Public Health Research 2015;8(4):6-13.
10. Hathaithip Dangpathio. Marketing Mix, Attitudes and Motives Affecting the Purchasing Decision in Nutritional Supplements for Whitening Skin of Teenagers in Bangkok [master’s thesis]. Bangkok: Bangkok University; 2017. (in Thai).
11. Thitikan P, Phansapon K. The Behaviors of consuming supplementary food of students Kamphaeng Phet Rajabhat University MaeSot. Naresuan 12th researches and innovation for development 2016;12:1439-51.

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01