ผลของโปรแกรมแบบแผนการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ร่วมกับการกำกับการรับประทานยาผ่านวิดีโอในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
กำกับการรับประทานยาผ่านวิดีโอ , วัณโรคปอดบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: วัณโรคปอดเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของไทย ซึ่งความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยรายใหม่เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ตามเวลา และยังสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมประยุกต์ใช้แบบแผนการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ร่วมกับการกำกับการรับประทานยาผ่านวิดีโอในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่
ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 66 ราย เป็นผู้มีอายุ 20-60 ปี และผลการตรวจเสมหะเป็นบวก ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกวัณโรค ในจังหวัดนนทบุรี ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (33 ราย) และกลุ่มเปรียบเทียบ (33 ราย) โดยกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลและการรักษาตามปกติร่วมกับโปรแกรมการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วย การได้รับความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและการดูแลตนเองในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การจัดการอาการข้างเคียงจากยา การส่งเสริมการรับประทานยาสม่ำเสมอ ร่วมกับกำกับการรับประทานยาผ่านวีดิโอและการส่งข้อความสื่อผสมทุกสัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลและการรักษาตามปกติเท่านั้น ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับวัณโรค แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลการตรวจเสมหะ และทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test Repeated Measure ANOVA และ Independent t-test
ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังทดลองและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p-value <.05) แต่ผลการตรวจเสมหะของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันเมื่อสิ้นสุดการศึกษา
สรุปผล: โปรแกรมแบบแผนการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ ร่วมกับการกำกับการรับประทานยาผ่านวิดีโอ ส่งผลให้กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ส่วนผลการตรวจเสมหะ กลุ่มทดลองมีผลการตรวจเสมหะดีขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง แต่ผลการตรวจเสมหะดีขึ้นไม่แตกต่างกันกับกลุ่มเปรียบเทียบ
ข้อเสนอแนะ: ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 แนะนำให้บุคลากรทางสุขภาพใช้ Video Observed Therapy (VOT) แทน Directly Observed Therapy (DOT) ในการกำกับติดตามผู้ป่วยทุกราย นอกจากช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคอีกด้วย
Downloads
References
World Health Organization. Global TB report 2019. Geneva, Switzerland: WHO; 2019.
Bureau of Tuberculosis. National tuberculosis control programme guideline, Thailand, 2018. Bangkok: Aksorn graphic and design publishing house; 2018. (in Thai)
Bureau of Epidemiology. 506 Report: Tuberculosis [Internet]. 2018 [cited 2019 Apr 28]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php. (in Thai)
Bureau of Tuberculosis. TB data center [Internet]. 2019 [cited 2019 Aug 9] Available from: http://122.155.219.72/tbdc/frontend/web. (in Thai)
Muture BN, Keraka MN, Kimuu PK, Kabiru EW, Ombeka VO, Oguya F. Factors associated with default from treatment among tuberculosis patients in Nairobi province, Kenya: a case control study. BMC public health 2011; 11: 696.
Luka MI, Idris SH, Patrick N, Raymond D, Ndadilnasiya EW, Moses OA, et al. Factors associated with interruption of treatment among pulmonary tuberculosis patients in Plateau State, Nigeria, 2011. Pan Afr Med J 2014; 17(78): 78.
World Health Organization. Global tuberculosis programme. Treatment of tuberculosis. Geneva: WHO; 1998.
Prasomphol B. The effect of a counseling program using brief motivation interviewing on knowledge about tuberculosis and medication adherence among patients with pulmonary tuberculosis. [master’ thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2011. (in Thai)
Posawang C. Directly observed treatment to promote anti tuberculosis adherence. [master’ thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2016. (in Thai)
World Health Organization. Treatment of tuberculosis guidelines for treatment of drug-susceptible tuberculosis and patient care 2017. Geneva: WHO; 2017.
Chuck C, Robinson E, Macaraig M, Alexander M, Burzynski J. Enhancing management of tuberculosis treatment with video directly observed therapy in New York City. Int J Tuberc Lung Dis 2016; 20(5): 588–593.
Garfein RS, Collins K, Munoz F, Moser K, Cerecer-Callu P, Raab F, et al. Feasibility of tuberculosis treatment monitoring by video directly observed therapy: a binational pilot study. Int J Tuberc Lung Dis 2015; 19(9): 1057–1064.
Rujirawiwattanakul Y. Tuberculosis case interview, Bangyai hospital. Nonthaburi: Bangyai hospital; 2020. (in Thai)
Mukarsa S, Sumpowthong K. Effects of a health promotion program by applying the theory of empowerment in new smear positive pulmonary tuberculosis patients. J Med Health Sci 2019; 24(1): 13-27. (in Thai)
Pasurakul S, Keeratiyutawong P, Masingboon K. Effects of a self-regulation program and social support on attitude toward treatment, self-care behavior and tuberculosis treatment success rate in pulmonary tuberculosis patients. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2013; 20(4): 57-67. (in Thai)
Fisher JD, Fisher WA, Shuper PA. The information-motivation-behavioral skill model of HIV preventive behavior. In Emerging theories in health promotion practice and research. (2nd ed.), San Francisco: Jessey-Bass; 2009.
Fisher JD, Fisher WA, Byan AD, Mishovich SJ. Information-Motivation-Behavioral Skill model-based HIV risk behavior change interception for inner-city high school youth. Health Psychol Res 2002; 21(2): 177-186.
Nanthachan N, Kasatpibal N, Viseskul N. Effect of information provision, motivation, and skill development on antiretroviral adherence among youths living with HIV. Nursing Journal 2016; 42(3): 72-83. (in Thai)
Rattanayotin J, Vanijja V. Designing and developing android application for medication reminder to improve treatment efficiency of stroke patient. Pathumwan Academic Journal 2018; 7(20): 29–44. (in Thai)
Jankaew U, Kespichayawattana J. The effect of information and motivation behavioral skill development program on dyspnea of elderly with chronic obstructive pulmonary disease. Journal of health and nursing research 2020; 36(1): 84-97. (in Thai)
Holzman SB, Zenilman A, Shah M. Advancing patient-centered care in tuberculosis management: A Mixed-methods appraisal of video directly observed therapy. Open Forum Infect Dis 2018; 5(4): 1-8.
Rattanasuwan P. TB Treatment: DOT vs. VOT. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute 2019; 12(1): 57-64. (in Thai)
Bureau of Tuberculosis. Tuberculosis control programme guideline in the situation of the coronavirus 2019 outbreak. Bangkok: Bureau of Tuberculosis; 2020. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น