ผลของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาต่อจิตปัญญาของพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วริทธิ์ตา จารุจินดา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • อำพันธุ์ พรมีศรี โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • ระวี แช่มชื่น โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • สมพร จิตรัตนพร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พิมพ์ประภา โตสงคราม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

จิตปัญญา , พุทธจิตวิทยา , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ: จิตปัญญาพยาบาลเป็นทักษะที่สำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญามีความรักความเมตตาต่อผู้ป่วยและผู้ร่วมงาน อันนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ดีต่อกันในสังคม 

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาต่อจิตปัญญาของพยาบาล

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 45 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 13 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินจิตปัญญาพยาบาลด้านใจตื่นรู้ ด้านความเข้าใจความจริงของชีวิต ด้านพลังแห่งความเมตตา และด้านความมีใจกรุณา มีความเชื่อมั่น .96,.88,.85 และ.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t- test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t- test 

ผลการวิจัย:  พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจิตปัญญาพยาบาลด้านความเข้าใจความจริงของชีวิต ด้านพลังแห่งความเมตตา ด้านความมีใจกรุณา มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <. 05) แต่คะแนนเฉลี่ยจิตปัญญาพยาบาลด้านใจตื่นรู้ ไม่แตกต่างกัน

สรุปผล: โปรแกรมพุทธจิตวิทยาสามารถพัฒนาจิตปัญญาพยาบาลด้านความเข้าใจความจริงของชีวิต ด้านพลังแห่งความเมตตา และด้านความมีใจกรุณาได้

ข้อเสนอแนะ:  ควรนำโปรแกรมพุทธจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาพยาบาลให้มีจิตปัญญาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Somdej Phra Buddhakosachan.Buddhist dictionary Glossary Edition, Bangkok: Pallitham; 2016. (in Thai).

Phrapaisan Visalo. With wisdom, changing suffering' to happy. Office of the Health Promotion Fund [Internet]. 2013 [cited 2020 Jul 5]. Availablefrom: https://www.thaihealth.or.th/Content/

Muneerat S, Suwanpong N, Thipayamongkolkul M, Munmee J. Job Characteristics, Job-Related Stress and Intention to Stay in Professional Nursing in a Tertiary Care Hospital.Journal of Health Science 2019; 28(1): 133-41. (in Thai).

Rattanawanich P. Quality of public health services. for nurses. Nonthaburi: Academic Welfare Program Royal Institute; 2002. (in Thai).

Kuariyakul A, Yotthawee W, Inthichot N, Nuanthong W, and Inpanao W. Attitude Toward the Nursing Profession of Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, UttaraditJournal of Health Science Research 2012; 6(1): 18-26. (in Thai).

Phra Phuttha Kosthera. Scripture Wisuttimak. 5th ed. Bangkok: Prayoon Wong Printing; 2004. (in Thai).

Rogers, C.R., My Philosophy of interpersonal relationship and how it grew: A way of being. Boston: Houghton Mifflin; 1980.

Frankl, E. Victor The will to meaning: foundation and application of Logotherapy. New York: New American Library; 1970.

Kittipraphat S. A new step in development: towards a happy society. Institute Journal Phra Prajadhipok. 2555; 10 (1): 99-116. (in Thai).

Onsri P. Contemplative education: education for human development in 21st century. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15(1): 7-11. (in Thai).

Nursing group. Service quality information. Samut Prakan Hospital Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2019. (in Thai).

Burns, N., Grove, S.K. The Practice of Nursing Research Conduct, Critique and Utilization. WB London: Saunders Company; 2009.

Polit, D. and Hungler, B. Nursing Research: Principle and Method, 6th ed. Philadelphia: Lippincott Company; 1999.

Kittimahacharoen S. The concept of wisdom in Jataka composed in Thailand. Chulalongkorn University. (in Thai).

Thirasiranon S. An analytical study of the learning process in Theravada Buddhism. (Ph.D.of Buddhist Studies). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Bangkok; 2013.(in Thai).

Bunchuay P. A study of the process of creating a prayer 4 using the Trisikha principle. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2006. (in Thai).

Kudumpinanon P. An analytical study of the learning process in Buddhism and developing people. (Master of Buddhist Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Bangkok; 2008. (in Thai).

Suyajai P. The Effect of Buddhist Group Counseling on Developing Reasoned Attention and Self-Regulation of Students By Neuro Linguistic Programming (NLP) in the Psychotherapy. Journal of Mahachulalongkornrajavidyalaya 2019; 6(1): 95-111. (in Thai).

Thawaisub R. Spiritual well-being of people living with HIV/AIDS. (Master's Thesis in Nursing). Chiang Mai University. Chiang Mai; 2002. (in Thai).

Aukkarapridie R, Satraphat D. Study on the behavior of patient care with compassion and love and the spirit of creative and happy living according to the perception of trained and non-trained personal in clinical pastoral education, a case study of Saint Mary's Hospital. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science. 2017; 12(1): 301-7. (in Thai).

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01