รูปแบบการจัดบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วย หอผู้ป่วยไอซียู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พรพิมล ไพเมือง สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บุญทิพย์ สิริธรังศรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • รัชนี นามจันทรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จอนผะจง เพ็งจาด วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

รูปแบบ , การจัดบริการสุขภาพ , ความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย , ไอซียู

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          บทนำ:  การจัดบริการสุขภาพในหอผู้ป่วยไอซียูไม่เพียงตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเท่านั้น แต่สมาชิกครอบครัวต้องได้รับการบริการดังกล่าวซึ่งเป็นการบริการแบบองค์รวม 

          วัตถุประสงค์การวิจัย:  การวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการบริการสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (2) สร้างรูปแบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น

          ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) สมาชิกครอบครัวสำหรับวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการบริการสุขภาพในหอผู้ป่วยไอซียู ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลปริมาณ 32 คน และ ผู้ให้ข้อมูลคุณภาพ 20 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 4 คน  เครื่องมือวิจัย มี 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สภาพการณ์และความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู  ซึ่งเป็นของมอลเตอร์และเลสเก (1983) ที่ได้รับอนุญาตให้แปลเป็นภาษาไทยและนำมาใช้  และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.78 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา 

          ผลการวิจัย: พบว่า 1) สภาพการณ์และความต้องการการบริการสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความต้องการความเชื่อมั่น ด้านความต้องการข้อมูล ด้านความต้องการการสนับสนุน และด้านความต้องการความสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ (1) การสื่อสารข้อมูลอย่างชัดเจน เป็นจริง และต่อเนื่อง  (2) การให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับอุปกรณ์การบำบัดรักษา และประโยชน์ในการนำมาใช้ (3) การให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการดูแลอย่างใกล้ชิด (4) การให้การดูแล และเยียวยาสภาพจิตใจสมาชิกครอบครัว  (5) การให้ได้รับรู้สิทธิต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (6) การจัดสภาพแวดล้อม และจัดบริการให้เอื้ออำนวยต่อความต้องการของสมาชิกครอบครัว (7) การให้บริการการพยาบาลที่รวดเร็ว และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย  และ 3) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดบริการสุขภาพตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู  ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ร้อยละ 88.88 

          สรุปผล: การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสมาชิกครอบครัวเป็นผู้รับบริการที่มีความสำคัญ นำไปสู่การพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม และยังช่วยพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในไอซียู 

          ข้อเสนอแนะ: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู อย่างไรก็ตาม ในการนำไปใช้อาจต้องพิจารณาถึงความต้องการของผู้รับบริการ และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

References

Aquilera, D. C. Crisis intervention. In: Birckhead LM, editors. Psychiatric/ mental health nursing: The therapeutic use of self. Philadelphia: J. B. Lippincott; 1989. p. 229-50.

Pryzby BJ. Effects of nurse caring behaviors on family stress responses in critical care. Intensive and Critical Care Nursing; 2005;21(1):16-23.

Beckstrand RL, Callister LC, Kirchhoff KT. Providing a "Good death": Critical care nurses' suggestions for improving end-of-life care. American Journal of Critical Care; 2006;15(1):38-46.

Calvin AO, Kite-Powell DM, Hickey JV. The neuroscience ICU nurse’s perceptions about end-of-life care. The Journal of neuroscience nursing: journal of the American Association of Neuroscience Nurses; 2007;39(3):143–50.

Lazarus RS, Folkman S. Stress, appraisal and coping. New York: Springer; 1984.

Thongprateep T. Nurse: A fellow in distress, terminally ill. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2010. (in Thai).

Kongsuwan W, Nilmanat K, Matchim Y. Barriers to Critical Care at the Emergency Room: The Nurse's Experience, Songkhla Nakarin College of Nursing 2014;34(3): 97-108. (in Thai).

Singdong P, Jidtbpuyya C. Caring for the family of critically ill patients: perspective from their relatives. Journal of Narathiwat Rajanagarindra University; 2011;3(3):17-32. (in Thai).

Wichittrakulthavorn S. Needs and obtaining a response to the need. Of elderly patients and their families in the intensive care unit. Journal of Nursing Message; 2013;40(Supplement) :35-46. (in Thai)

Molter N, Leske JS. Critical Care Family Needs Inventory. Available from Authors; 1983.

Suratthani Hospital. General information of Surat Thani Hospital. Surat Thani: Surat Thani Hospital; 2017. (in Thai).

Molter NC. Needs of relatives of critically ill patients : A descriptive study.Heart and Lung; 1979;8(2): 332-339.

The AGREE Collabration. Appraisal of Guidelines for Research & Evaluation (AGREE) Instrument. [Internet]. 2006 [cited 2006 November 23] Available from: http://www. agreecollaboration.org.

Stetler CB, Updating Stetler Model of Research Utilization to Facilitate Evidenc-Based Practice. Nursing Outlook; (2001;49(6):272-279.

Chahngmai S. Evaluation of guidelines for research use and evaluation. Christian University Journal 2006;12(1):15-24. (in Thai).

Yublaphan P. The involvement of patients in the creation of safety in health-care services. ournal of Academic Resources Prince of Songkla University;2016; 27(3):127-38. (in Thai)

Bunyaratklin P. Communicating with the families of patients in the Critical Ward: nurse's role. Journal of Nursing Thai Red Cross Societ; 2019;12(2):90-99. (in Thai).

Price DM, Forrester DA, Murphy PA, Monagham JF. Critical care family needs in an urban teaching medical center. Heart and Lung; 1991;20(2):183–188.

Wilaichon W, Permpikul C. Know before you go ... ICU 12 facts you must know. Bangkok: Hellervirk Co., Ltd; 2014. (in Thai)

Ngoenchum K. Participation in care decisions of the mentally ill family caregivers. Journal of the Asian Graduate School; 2018;8(special):216229. (in Thai).

Yublaphan P. The involvement of patients in the creation of safety in health-care services. ournal of Academic Resources Prince of Songkla University; 2016; 27(3):127-38. (in Thai)

Phajanasunthorn, B. Health Status Assessmentin Critically il patients. Documentation of critical therapy lectures for nurses Faculty of Nursing Khon Kaen University; 2007. (in Thai)

Mitnick S, Leffler C, Hood VL. American College of Physicians.Ethics, Professionalism and Human Rights Committee. Family Caregivers, Patients and Physicians: Ethical Guidance to Optimize Relationships. Journal General Intern Medicine. [Internet]. 2010 [cited 2010 January 10] Available from: http://www.spingerlink.com/openurl.aspMgenre=article&id=doi:10.1007/s1160600 9-1206-3

Nakarawong A. Perception of services according to patient rights of inpatient patients of a private hospital Hat Yai District, Songkhla Province

Master of Science Thesis Department of Health Service System Organization Thaksin University; 2011. (in Thai).

Nuanmai J. Awareness of inpatient rights of inpatients Suan Saranrom Hospital Suratthani Province. Southern Journal of Technology; 2015;8(1):47-54. (in Thai)

Leske JS. Intervention to decrease family anxiety. Protocols for practice applying research at the bedside. Critical care nurse; 2002;22(6):61-74.

Wongsuansiri S. Guidelines for the provision of nursing services for patients in medium term Nonthaburi: Media Tawan Co., Ltd. 2017; (in Thai)

Jalowiec A, Power MJ. Stress and coping in hypertensive and emergency room patient. Nursing Reseach; 1981;30(1):10-15. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01