ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นงค์คราญ ชูอินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , อาสาสมัครสาธารณสุข , โรคเบาหวาน , กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          บทนำ: คนกรุงเทพมหานครป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงเป็นลำดับที่สองและมีอัตราตายที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อสส.เป็นกลไกหลักที่เข้ามาเสริมความเข้มแข็งของบุคลากรภาครัฐในการดูแลปัญหาเรื่องโรคเบาหวานในชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

          วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวาน ปัจจัยที่สัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุข

          ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยประยุกต์แบบจำลองทางนิเวศวิทยาเป็นกรอบแนวคิด ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยกระบวนการระหว่างบุคคล ปัจจัยระดับสถาบัน และปัจจัยระดับชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสส.) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี และเคยเข้ารับการอบรมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน จำนวน 287 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม มีค่าความตรงของเนื้อหา 0.8 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่น 0.7 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และทดสอบอิทธิพลในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

          ผลการวิจัย: พบว่า อสส.ส่วนมากมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานในระดับพอใช้ (ร้อยละ 56.10) ปัจจัยระดับบุคคลได้แก่ การศึกษา รายได้ ภาวะสุขภาพ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจัยกระบวนการระหว่างบุคคล ได้แก่ วิธีการให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเพื่อนอาสาสมัคร ปัจจัยระดับสถาบัน ได้แก่ การสนับสนุนสื่อ/อุปกรณ์จากสถาบัน และปัจจัยระดับชุมชนได้แก่ บทบาทในชุมชน มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และพบว่า รายได้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเพื่อนอาสาสมัคร การสนับสนุนสื่อ/อุปกรณ์จากหน่วยบริการ  และบทบาทในชุมชน สามารถร่วมอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F =77.33, p < 0.05) โดยอธิบายได้ ร้อยละ 57.90 (R2= 0.579)

          สรุปผล: อสส. ส่วนมากมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานในระดับพอใช้

          ข้อเสนอแนะ: อสส. ควรได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องเบาหวานเพื่อให้ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เน้นปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอสส. รวมถึงการสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ที่อ่านเข้าใจง่าย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ekplakorn W, Pakcharoen HC, Thaikla K, Sathiannoppakao W. The 5th Physical Examination of thai health survey 2014. Bangkok: Graphic and Design Alphabet Publishing; 2016. (in Thai).

World Health Organization. Diabetes [Internet]. 2018 [cited 2019 September 8]. Available from: http:// www.who.int/news-room/fact-in-pictures/detail/diabetes

Office of the National Economic and Social Development Council. Thailand Healthy Lifestyle Strategic Plan, B.E. 2011-2020 [Internet].2010 [cited 2019 August 21]. Availablefrom: http://www.wops.moph.go.th/data/20110316100703-1.pdf

Health Promotion Division Department of Health BMA. Public Health Volunteer orientation training course revised version 2008. Bangkok: Newthammada Printing (Thailand) Co., Ltd.; 2008. (in Thai).

Lirapan P. Village health volunteers to promote and support self-care for people with diabetes. [Powerpoint].2013 [cited 2019 August 22]. Available from: http://www.nuph.health.nu.ac.th/phnu/ckeditor/upload/file/137897750.

Kaewtong N, Termsirikulchai L, Leelaphun P, Kengganpanich T, Kaeodumkoeng K. Health literacy of group at risk of hypertension at Ban Nonghoi sub district health promoting hospital Sakaeo province. Journal of Boromarajonani college of nursing, 2014; 30(1):45-56. (in Thai).

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine Journal 2008;67(12):2072-8.

Lattanand K, Ninwatcharamanee C. Health literacy of nursing students at Boromarajonani college of nursing bangkok. Journal of Boromarajonani college of nursing, 2019; 35(1):277-289. (in Thai).

McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A, Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health education quarterly 1988;15(4):351-77.

Intarakamhang U. Creation and development of tools to measure knowledge on

health literacy of Thai people. [Report]. Nonthaburi: Health Education Division Ministry of Health; 2017. (in Thai)

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences(2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates; 1988

Sanghirun K. Factors related to adolescent sexually transmitted disease prevention

Behaviors teens female in the Non-Formal Education System Bangkok [Thesis Degree of Science Master's degree], Bangkok: Mahidol University; 2009. (in Thai).

Tachavijitjaru C, Srisupornkornkul A, Changtej S. Selected factors related with the health literacy of village health volunteer. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018; 19(Supplement):320-32. (in Thai).

Panurat S, Bhoosahas P, Thutsaringkarnsakul S, Krachangpho P, Thuratham W, Natetipawan P. Factors related to health literacy among the Elderly in Pak PhliI district Nakhon Nayok province. Journal of the police urses, 2019;11(1): 86-94. (in Thai).

Ngasangsai P, Sornseeyon P, Phattarabenjapol S. A Case study of health literacy of village Health Volunteers. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, , 2014; 82-7. (in Thai).

Rikard RV, Thompson MS, McKinney J, Beauchamp A. Examining health literacy disparities in the United States: A third look at the national assessment of adult literacy (NAAL). BioMed Central public health 2016;16(1): 975.

Bodur AS, Filiz E, Kalkan I. Factors affecting health literacy in adults: a community-based study in Konya, Turkey. International Journal of Caring Sciences 2017;10(1): 100-9.

Amoah PA, Social participation health literacy and health and well-being: a cross- sectional study in Ghana. SSM-population health 2018;4: 263-70.

Sinwisarn N, Wisesrith W. Relationships between working experiences, educational training, emotional intelligence, working environment, and nurse competency in cardiothoracic surgical ward, the tertiary hospitals. Thai Journal of Cardio-Thoracic 2019;30(1): 46-59. (in Thai).

Khumthong T, Potisiri W, Kaedumkoeng K. Factors Influencing health literacy for people at risk of diabetes mellitus and hypertension of Uthai Thani and Ang Thong. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University (Science and Technology) 2016;3(6): 67-85. (in Thai).

Ngomsangad Y, Srisuriyawet R, Homsin P. Factors influencing health literacy related pregnancy prevention among female adolescent students in Si Sa Ket province. The Public Health Journal of Burapha University 2019;14(2): 37-51. (in Thai).

Ellis J, Mullan J, Worsley A, Pai N. The role of health literacy and social networks in arthritis patient s’ health information-seeking behavior: a qualitative study. International Journal of Family Medicine [Internet].2012 [cited 2019 September 7].Available from:https://www.dx.doi.org/10.1155/2012/397039.

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01