การสร้างพลังการคิดเชิงบวกเพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต ของนักศึกษาพยาบาล Generation Z
คำสำคัญ:
การคิดเชิงบวก, นักศึกษาพยาบาล, การดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤตบทคัดย่อ
พลังการคิดเชิงบวกเป็นพื้นฐานของการสร้างสติปัญญาให้คนเราเกิดการแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค้นคว้าหาแนวทางที่ส่งผลในทางที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สุขบุคคลที่มีพลังด้านบวกเป็นบุคคลที่มีพลังและมีศักยภาพต่อการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและต่อยอดศักยภาพการเรียนรู้เพื่อเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงและปัญหาการจัดกิจกรรมการสอนทางคลินิกทางการพยาบาลเด็กวิกฤตโดยเสริมสร้างพลังการคิดเชิงบวกให้นักศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีผลลัพธ์การฝึกปฏิบัติงานที่ดีและมีความสุข จากประสบการณ์การสอนในคลินิก ตึกผู้ป่วยเด็กวิกฤต นักศึกษาพยาบาลจำนวน 8 คน ให้ข้อมูลความรู้สึกก่อนฝึกประสบการณ์ว่า “รู้สึกกลัวมาก ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่คุ้นเคยกับการดูแลเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รู้สึกกดดันและตื่นเต้นที่จะได้ดูแลเด็กที่มีอาการวิกฤต”และเมื่อนำแนวทางการสอนในคลินิกโดยใช้พลังการคิดบวกไปใช้พบว่า ประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับคือ “ได้อิสระในการฝึกปฏิบัติงาน ได้เห็นตัวอย่างการทำงานเป็นทีมที่ดีได้ความรู้และประสบการณ์ที่ดี มีความรู้สึก ดีใจ อุ่นใจ มีความสุข ไม่กดดัน เชื่อมั่นในอาจารย์และเชื่อมั่นในตัวเองประทับใจ ภูมิใจ และรักในการเรียนวิชาการพยาบาลเด็ก” ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะสอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ได้บัณฑิตพยาบาลที่พึงประสงค์ ส่งผลให้ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจ นักศึกษามีผลลัพธ์ที่ดี มีความสมาร์ท ในการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต
Downloads
References
2. Apichutboonchock S. Student nurses’ experiences of individually nursing care and holistic care in pediatric intensive care unit of students in third year of baccalaureate nursing program. Vajira Medical Journal 2014;58(3):33-41 (in Thai)
3. Khamnungsit I, Ratchukul S. Experiences of being pediatric intensive care nurses. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2016;28(1):127-38 (in Thai)
4. Kaewvichien S. Role of nurses in pediatric critical care. (Internet). 2017 (cited 2018 October 20); Available from http://thaipedlung.org/topic/demo/25_Role_Nurdemo.pdf.
5. Gray R, Pattaravanich U, Lucktong A, Sangkla J. Quality of life among employed population by generations. Bangkok. 2016.
6. Chicca J, Shellenbarger T. Connecting with generation z: approaches in nursing education. Teaching and Learning in Nursing 2018;13:180 –84.
7. Wongsaree C. Generation z clinical teaching in adult nursing practicum course for generation Z collegian. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok [Internet]. 1May2015 [cited 22 Oct.2018]; 31(2): 130-4. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/
article/view/47641 (In Thai)
8. Phothidara Y. Nursing education management: for student generation y. Journal of Nursing Science and Health [Internet]. 8Mar.2012 [cited 22Oct.2018]; 34(2):61-9. Available from: https://www. tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/761 (in Thai)
9. Rachapakdee P. The needs of nursing students during practice in the intensive care unit. (Internet). 2017 (cited 2018 October 20); Available from http://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/Oral%20 Presentation (in Thai)
10. Chaowalit A, Nasae T. Ethics of teaching in baccalaureate nursing program. Songklanagarind Journal of Nursing. 2016;36(3):261-270 (in Thai)
11. Aekwarangkoon S, Toorerat U. The integration process of experiential learning, coaching and positive development for developing the competency and pride in the profession of nursing Students. Kuakarun Journal of Nursing 2013;20(2):5-15 (in Thai)
12. Deesrikaew S. Positive thinking. (Internet). 2014 (cited 2018 October 20); Available from http://kidlifeplus.blogspot.com/014/02/1-20-1-40-60-42-2550-23.html (in Thai)
13. Pinchaleaw D. Mental health promotion with positive thinking. Journal of Police Nurse 2016;8(2):223-30 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น