ภาวะสุขภาพทางกาย พฤติกรรมสุขภาพ และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราพร สุวะมาตย์
  • มาลินี อยู่ใจเย็น
  • ชาลินี หนูชูสุข
  • ปิยะนาฏ ช่างเสียง

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพทางกาย, พฤติกรรมสุขภาพ, สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, ชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพทางกาย พฤติกรรมสุขภาพ และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่างในชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน กรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างคือหลังคาเรือนที่อาศัยในชุมชนริมทางรถไฟมักกะสันตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปทั้งหมด 210 หลังคาเรือน ศึกษาสมาชิกทุกคนในหลังคาเรือนจำนวน 668 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ซึ่งข้อคำถามมีลักษณะทั้งแบบเลือกตอบและแบบปลายเปิด โดยถามข้อมูลของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 54 มีอายุอยู่ในช่วง 40-59 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 34.20) มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 50.90) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 42.90) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 99.00) ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด (ร้อยละ 43.70) ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาทต่อเดือน และมีสิทธิการรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 62.20) ภาวะสุขภาพทางกายและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ากลุ่มกลุ่มตัวอย่างอายุต่ำกว่า 1 ปี มีภาวะการเจริญเติบโตสมส่วน และพัฒนาการสมวัย (ร้อยละ 100.00) อายุ 1-6 ปีมีภาวะการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ41.50) พัฒนาการสมวัย(ร้อยละ 100.0) กลุ่มอายุ 7-12 ปีมีภาวะการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ52.70) กลุ่มอายุ 13- 19 ปีไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 57.90) สูบบุหรี่ (ร้อยละ 40.40) กลุ่มอายุ 20-39 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 28.00) ไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 76.80) กลุ่มอายุ 40-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 63.90) เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 10.90) และเป็นโรคเบาหวาน (ร้อยละ 4.3) ไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 69.10) กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 74.50) เป็นโรคเบาหวาน (ร้อยละ 17.8) และเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 16.70) ไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 78.90) สูบบุหรี่ (ร้อยละ13.3) ดื่มสุรา (ร้อยละ 6.70) ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่มีบ้านที่อยู่อาศัยคงทน (ร้อยละ 85.20)  และถูกรบกวนจากมลพิษด้านกลิ่นเหม็นและน้ำเสีย (ร้อยละ 9.50)

     ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพรูปแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ และปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่างชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่างมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ควรดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

References

1. Phonsri S. Learning network in community development work. Bangkok: Odian Store; 2007. (in Thai)

2. Office of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary for Public Health. Public Health Statistics 2015. Bangkok: Sam Charoen Commercial (Bangkok) Co., Ltd; 2017 (in Thai).

3. Booranarek S, Thummaraksa P, Kaewchuntra K, Khamwong M. Health status and health service accessibility: Samsen community. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2017;33(2):54-63. (in Thai).

4. Aekplakorn W.(Editor.). Report of the 5th Thai health survey by physical examination 2014. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2016 (in Thai)

5. Mahidol University Institute for Population and Social Research. Thai Health 2018: Buddhism and Health Promotion. Amarin Printing and Publishing: Bangkok; 2018.

6. Kue-iad N, Chaimay B. Woradet S. Early childhood development among thai children aged under 5 years: a literature review. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2018;5(1):281-96. (in Thai)

7. Nutrition Division, Department of Health, Ministry of Public Health. Reference criteria for weight and height and indicators of nutritional status of Thai people aged 1 day-19 years. Bangkok, 2011:The Veterans Organization of Thailand printing pressl; 2011 (in Thai).

8. Pinyoanuntapong S. The study of early childhood accordance with food behavioral consumption in case of “The school in Bangkok”. Journal of Education Faculty of Education, Srinakharinwirot University 2016;17(2):13-27. (in Thai)

9. Singhasame P, Suwanwaha S, Sarakshetrin. Nutritional promotion in pre-school children. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4(3):226-35. (in Thai)

10. Jitpakdee P, Thummanon T, Bakasatae A. Factors associated with weight for height of students in a school in Chonburi province. Journal of Public Health 2014;44(3):250-59. (in Thai)

11. Nithitantiwat P & Udomsapaya W. Food Consumption Behavior among Thai Adolescents, Impacts,and Solutions. Journal of Phrapokklao Nursing College 2017; 28(1):122-8. (in Thai)

12. Suvamat J, ThiammokM. Thereview of activities on smoking prevention for adolescents. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2018;34(1):141-149. (in Thai)

13. Saengdet S, Limtragool P. Guidelines to promote health for pre-hypertension in community at Suratthani province. Journal of Nursing Science & Health 2011;35(1): 39-47. (in Thai)

14. Rengrew P, Sethabouppha S, Thapinta D. Alcohol expectancy and alcohol drinking behaviors among university students. Nursing Journal 2017;44(3):113-24. (in Thai)

15. Rusmeejam P, Ukarapol P, Durongritikul W. Factors predicting pre-hypertension and non-essential hypertension in Thai adult at NaKlier community, Prasamut Jadee district, Samut Prakarn province. Journal of Public Health Nursing 2013;27(1):102-13. (in Thai)

16. Karunngaampan M, Suwaree S, Namphon N. Health behavior and health status of establishment workers in big city: A case study in Sathorn Bangkok. Journal of Songklanakarin Nursing 2011;32(3):51-6. (in Thai)

17. Songthap A, Wongsawat P. Prevalence, risk factors, and factors affecting hypertension among population in a rural southern Thailand: a case study in Kuantani sub-district, Kantang distric, Trang province. EAU Heritage Journal Science and Technology 2016;10(3):104-17. (in Thai)

18. Srivanichakorn S. Morbidity and mortality situation of non-communicable diseases (Diabetes type 2 and cardiovascular diseases) in Thailand during 2010-2014. Disease Control Journal 2017;43(4):379-90.

19. Prasertpan C, Piaseu N, Jarupat Maruo S, Kittipimpanon K. Activities and outputs of a senior club in an urban community: a case study. Rama Nurs J 2014;20(3):388-400. (in Thai)

20. HDC: Health Data Center – Ministry of Public Health. Percentage of working-age citizens has a normal body mass index [Internet]. 2018 [cited 2018 July, 17]. Available from: https://hdcservic

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01