โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการถูกข่มเหงรังแกในวัยรุ่นชายตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ประกายทิพย์ พลประทีป คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถตนเอง, วัยรุ่นชายตอนต้น, การป้องกันการถูกข่มเหงรังแก, การข่มเหงรังแก

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการถูกข่มเหงรังแกในวัยรุ่นชายตอนต้น โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือเด็กชายอายุ 10-12 ปีที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถการป้องกันการถูกข่มเหงรังแก พฤติกรรมการป้องกันการถูกข่มเหงรังแกและการถูกข่มเหงรังแก ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Independent  t-test และ Repeated Measure ANOVA

         ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถการป้องกันการถูกข่มเหงรังแกและพฤติกรรมการป้องกันการถูกข่มเหงรังแก หลังการทดลองและระยะติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และคะแนนเฉลี่ยการถูกข่มเหงรังแกด้านร่างกาย วาจา อารมณ์และสังคม หลังการทดลองและระยะติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จากผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่าโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการถูกข่มเหงรังแกสูงขึ้น ดังนั้น ควรนำโปรแกรมไปปรับใช้เพื่อป้องกันการถูกข่มเหงรังแกในเด็กนักเรียนโรงเรียนอื่น

References

1. Somphong C. Child Watch: Bangkok Metropolitan Region (Bangkok Nakhon Pathom Nonthaburi Pathum Thani Samut Prakan Samut Sakhon). Bangkok: The Thailand Research Fund;2015. (in Thai).

2. Thai Health Recruitment Center. 5 protects 5 stops Reduce the problem. 2016. (cited 2018 April 16). Retrieved from https://www.dmh.go.th/news-dm.

3. Churairat P. Types of bullying and problem management of bullying among early adolescent at Bangkok Metropolitan. Program in Demography. Mahidol university. 2015:96-99. (in Thai)

4. Apinya Y, Weena T., Arpaporn P. Predictive factors for adolescent bullying behavior in the Bangkok metropolitan. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2016;(48):73-82. (in Thai).

5. Chutinart S, Alisa V. Prevalence of bullying and associated psychosocial factors among lower secondary school students in Muang, Chiangmai., Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2014;(53):221-30. (in Thai).

6. Susan G. Williams, Jennifer Langhinrichsen-Rohling, Cory Wornell & Heather Finnegan. Adolescents Transitioning to High School: Sex Differences in Bullying Victimization Associated with Depressive Symptoms, Suicide Ideation, and Suicide Attempts Journal of School Nursing 2017;33(6):467-79.

7. Nahla Mansour Al Ai, Muntaha Gharaibeh & Mohammad Jaser Masadeh. Students' Perceptions of Characteristics of Victims and Perpetrators of Bullying in Public Schools in Jordan Nursing research. Journal Nursing Research 2017;66(1):40-8.

8. Srisawat, P. A Development of Bullying Prevention in School Model. Veridian E-Journal Silpakorn University 2018;11(1):3653-67. (in Thai).
9. Bandura A. Social Lerning Theory. New Jersey: Prentice – Hall; 1977.

10. Constantinos M. Kokkinos, Nafsika Antoniadou, Angeliki Asdre & Kyriaki Voulgaridou. Parenting and Internet Behavior Predictors of Cyber-Bullying and Cyber-Victimization among Preadolescents. Journal Deviant behavior 2015;37(4):439-55.

11. Huang, Hui-Wen Chen, Jyu-Lin Wang, Ruey-Hsia. Factors associated with peer victimization among adolescents in Taiwan. Journal of Nursing Research 2018;26(1):52–9.

12. Antti Karna, Todd D.Little, Marinus Voeten, Elisa Poskiparta, Anne Kaljonen, & Christina Salmivallr. A large-scale evaluation of the Kiva Antibullying Program: Grades 4-6. Journal of Child development. 2014;82(1):311-30.

13. Ersilia Menesini Christina Salmivalli. Bullying in schools: the state of knowledge and effective interventions. Journal Psychology, Health & Medicine 2017;22(1):242-53.

14. Constantinos M. Kokkinos, Nafsika Antoniadou, Angeliki Asdre Kyriaki Voulgaridou. Parenting and Internet Behavior Predictors of Cyber-Bullying and Cyber-Victimization among Preadolescents. Journal Deviant behavior 2015;37(4):439-55.

15. Fatma A, Sultan A. The effectiveness of assertiveness training for school-aged children on bullying and assertiveness level. Journal of Pediatric Nursing 2016;(36):186-90.

16. Meline M. Kevorkian, Albert Rodriguez, Matthew P. Earnhardt, Tom D. Kennedy, Robin D’Antona, Ashley G. Russom & Jia Borror. Bullying in Elementary Schools. Journal of Child & Adolescent Trauma. 2016;9(4):267-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01