โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา บัวสุวรรณ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โปรแกรมประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, พฤติกรรมก้าวร้าว, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นักเรียนชาย

บทคัดย่อ

          พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นปัญหาที่สำคัญทั้งยังส่งผลกระทบต่อประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นตอนต้นและยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีอายุตั้งแต่ 13-15 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาชายขนาดใหญ่ 2 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครเพื่อสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมก้าวร้าว 2) แบบประเมินเกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าว เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าว โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .907 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square, Independent t-test และ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) และมีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติทางลบต่อพฤติกรรมก้าวร้าว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว และความตั้งใจในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว หลังการเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผล สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

          โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร สามารถเพิ่มทัศนคติทางลบต่อพฤติกรรมก้าวร้าว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว ความตั้งใจในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว และลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวได้

References

1. World Health Organization. Adolescents: health risks and solutions 2016. [cited 2016 Sep 1]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs345/en/.
2. Wiwattanawongsa W. Aggression/Violence in Child & Adolescence [internet]. 2018. [cited 2019April 10]. Available from: http://www. srithanya. go.th/srithanya/files/YOUTH/Aggression. (in Thai).

3. Hongsanguansri S, Suampun U. Aggressive and violent behaviors in adolescents. Practical Points in Adolescents Health Care. 1sted. Bangkok:Thai Health Promotion Foundation; 2012. (in Thai).

4. Ishida S. A study on violence of adolescent students [thesis]. Nakhon nayok: Srinakharinwirot University; 2010. (in Thai).

5. Wichitkasem N, Taechaboonsermsak P, Nanthamongkolchai S, Munsawaengsub C, Pitikultang S. Factors influencing aggressive behavior of secondary school students Pak Kret district Nonthaburi province. Journal of Public Health 2015;(Special ed.):43-54. (in Thai).

6. Yaowabut A, Thiangtham W, Powwattana A, Nanthamongkolchai N. Predictive factors for adolescent bullying behavior in the Bangkok metropolitan. Journal of Public Health 2015;29(2):71-84. (in Thai).

7. Ojewola FO. Effect of self-efficacy skills training in reducing aggressive behavior among in-school adolescents in Ogbomoso-Nigeria. Journal of Education and Practice 2014;5(23):173-8.

8. Parekitthammachai V. The effects of behavior modification to reduce aggressive behavior of adolescents at risk. Sripatum Chonburi Journal 2015;3:95-102. (in Thai).

9. Limpaiboon C, Pichayapinyo P, Kalampakorn S. Effect of prevention program on aggressive behavior of early adolescents. Journal of Mental Health of Thailand 2011;19(3):160-70. (in Thai).

10. Ruth C, Jose MS, Pablo F, Nekane B. Effects of an emotional intelligence intervention on aggressive and empathy among adolescents. Journal of Adolescence 2013; 36(5):883-92.

11. Ando M, Asakura T, Ando S, Simons-Morton B. Psychoeducational program to prevent aggressive behavior among Japanese early adolescents. Health Education & Behavior 2007;34(5):756-76.

12. Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes 1991;50(2):179-211.

13. Kevin AG, Rosa MC. The effects of single-sex versus coeducational schools on adolescent peer victimization and perpetration. Journal of Adolescence 2014;37(8):1237-51.

14. Ajzen I, Fishbein M. Determinants of behavioral intentions. Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. New Jersey 1980.

15. Chen C, Chun L, Hong W, Jian-Jun O, Jian-Song Z, Xiao-Ping W. Cognitive behavior therapy to reduce overt aggression behavior in Chinese. Aggressive Behavior 2014;40:329-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01