ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตนกับการฝึกอบรมแบบสอนแนะต่อพฤติกรรมในการป้องกัน ทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมของอาสาสมัครสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นันทนา คงพัฒนานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, การฝึกอบรมแบบสอนแนะ, พฤติกรรมในการป้องกัน, ทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตนกับการฝึกอบรมแบบสอนแนะต่อพฤติกรรมในการป้องกัน ทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมของอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับเทคนิคการสอนแนะประกอบด้วย การให้ความรู้ กิจกรรมกลุ่ม การเสนอตัวแบบ การดูวีดีทัศน์ และฝึกทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม เก็บข้อมูลก่อน-หลัง และระยะติดตาม โดยใช้แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ทักษะทั้ง 2 ด้าน และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.87, 0.69, 0.74 และ 0.69 ตามลำดับ เครื่องมือมีค่าความตรงทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม ภายหลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมพบว่าไม่แตกต่างกัน ระหว่างก่อนและหลังการทดลองและไม่แตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ (p > .05) ส่วนพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบเท่ากับร้อยละ 84.40 และ 6.90 ตามลำดับ สรุปได้ว่า โปรแกรมนี้สามารถส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีทักษะการดูแลและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และสามารถนำไปปรับใช้กับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มอื่นได้

References

1. World Health Organization. Breast cancer estimated incidence, mortality and prevalence worldwide in 2018. [Internet]. 2018 [cited 2018 October 23] Available from:http: //globocan.iarc.fr/FactSheets / cancers/ breast -new.asp.

2. National Cancer Institute. Hospital- base cancer registry annual report 2014. [Internet]. 2014. [cited 2018 October 23]. Available from: http://www.nci.go.th/th/ cancer_record/cancer_rec1.html.

3. National Cancer Institute. Hospital- base cancer registry annual report 2015. [Internet]. 2015. [cited 2018 October 23]. Available from:http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20 Registry / pdf.

4. National Cancer Institute. Hospital- base cancer registry annual report 2016. [Internet]. 2016. [cited
2018 October 23]. Available from: http://www.nci.go.th/th / File Cancer%download / Nci%20Registry /hospital%20based%20cancer% 20registry. pdf.

5. Bureau of Policy and Strategy Ministry of Public Health. Public health statistics 2015. [Internet]. 2015. [cited 2018 October 23]. Available from:http://bps.moph.go.th /new_bps/sites/default/files/health_sta- tistic2558.pdf

6. Prasongsuk N. Breast mass. In: Stirapoj B, Supasin O, Srisawat J, editors. Medical symptomatology. 2nd ed. Bangkok: Pramongkutklao Callege of Medicine; 2012. (in Thai)

7. Adami OH, Hunter D, & Trichepoulos D. Textbook of cancer epidemiology. New York: Oxford
University Press. 2002.

8. World Health Organization. Breast cancer: prevention and control. 2015 [cited 2018 December 23] Available from http//www. who.int/cancer/detection/ breastcancer/en/

9. Soceity AC. Breast cancer survival rates, by stage 2015 [cited 2015 November 17]. Available from: http://www.cancer.org/ cancer/breastcancer/detailedguide/breast-cancer-survival-by-stage.

10. Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Screening guidelines diagnose and breast cancer treatment. Bangkok: National Cancer Insti tute; 2012. (in Thai)

11. Boonsuya C, Suwanphong N, Phachein O. The results of the public health survey in Bangkok for health promotion. Bangkok; Mahidol University; 2012. (in Thai)

12. Department of Medical Services, Ministry of Public Health. National Cancer Prevention and Control Plan 2013 -2017. Bangkok: National Cancer Institute; 2013. (in Thai)

13. Health Promotion Division. Course for enhancing knowledge for health volunteers. Bangkok: Health Divition; 2013. (in Thai)

14. Bandura A. Self Efficacy the Exercise of control. W. H. Freeman and company. 1997.

15. Siripan S. Coaching for the development of excellent works. Bangkok: H R Center; 2014. (in Thai)

16. Hongpanish P. Effects of coaching training on volunteer for breast cancer screening. Bangkok: Rajavithi Hospital; 2005. (in Thai)

17. Twisk JR. Applied longitudinal data analysis for epidemiology : a practical guide. Cambridge, UK : Cambridge University Press; 2003.

18. Srikreardam P, Lapvongwatana P, Chansatitporn N. Effects of capacity building for breast self-examination of female health volunteers in Surin’s communities. Journal of Public Health Nursing. 2013; 27(3): 71-82. (in Thai)

19. Panarat W, Moopayak K, Priyatruk P. The effect of a self-efficacy promoting program on breast self-examination behavior among adolescent girls. Journal Nursing Science. 2014; 32(3): 52-63. (in Thai)

20. Gottesman BL. Peer coaching for edu- cators. 2nd ed. Scarerow Press: Inc Teachnimic book; 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01