การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพ ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เทพไทย โชติชัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, อัตลักษณ์เชิงวิชาชีพ, การวิจัยและพัฒนา

บทคัดย่อ

   

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน จำนวน 18 คน การสนทนากลุ่มในทีมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย จำนวน 10 คน การสอบถามผู้ใช้บัณฑิตในหน่วยงานต่างๆในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 10 คน สาธารณสุขอำเภอ 10 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  20 คน และนักวิชาการสาธารณสุขหรือพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการ 20 คน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพ เก็บข้อมูลในนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน จำนวน 115 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค 0.82 ระยะที่ 2 การสร้างและวิเคราะห์หาคุณภาพของรูปแบบและทดลองใช้ในนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 20 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยใช้แบบประเมินตนเองในนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอนุมานใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า

รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1: หลักการและเหตุผล เป้าหมายในการเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักศึกษา องค์ประกอบที่ 2: วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ กำหนดประเด็นในการเรียนรู้ โดยการพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เรียน องค์ประกอบที่ 3: เนื้อหาสาระของรายวิชา ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เนื้อหาตามรายวิชาในหลักสูตรที่เรียน ตามคำอธิบายรายวิชาและหลักทฤษฎีวิชาการตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ส่วนที่ 2 เนื้อหาเกี่ยวกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ 3 เนื้อหาเกี่ยวกับจิตบริการ จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณสมบัตินักสาธารณสุขและการให้บริการดุจญาติมิตร การคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้รับบริการและการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ องค์ประกอบที่ 4: กิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำ เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ส่งเสริมความสนใจและกระตุ้นผู้เรียน 2) ขั้นสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ดึงเอาความรู้เดิมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่นำออกมาใช้สร้างความรู้ ความเข้าใจกับสารสนเทศใหม่ที่ได้รับ 3) ขั้นสรุป เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปและทบทวนความรู้ที่ได้รับ และ 4) ขั้นประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังหรือไม่ และเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนเพื่อซ่อมเสริมหรือดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และองค์ประกอบที่ 5: การวัดและประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แบบประเมินอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้น

          ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพ พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.8461 ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพก่อนและหลังจัดการเรียนการสอน เท่ากับ 133.87 (SD=16.18) และ 158.09 (SD=7.33) ตามลำดับ โดยหลังการจัดการเรียนการสอนมีคะแนนเฉลี่ยอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพสูงกว่าก่อนจัดการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 24.22 คะแนน (95% CI = 20.14 to 28.31; p-value < .001)

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Sumetsittikul, A, Prajankett, O. Identity personality and values: the foundation of professional identity development. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;19(2):1-7. (in Thai).

2. Suwannachin C, Jantarapanya P. Students’s identity construction in higher education. Panyapiwat Journal 2015;7(2):267-80. (in Thai).

3. Dawangpa, J, Phaktoop M. Quality of nursing care as expected and perceived by social security patients in one private hospital in bangkok. EAU Heritage Journal Scien and Technology 2017;11(2): 215-225. (in Thai).

4. Dick W, Carry L. The Systematic Design of Instruction. Illinois, Scott Foreman and Company; 1989.

5. Joyce B, Weil M. Model of Teaching. 4th ed. Boston, Allyn and Bacon; 1996.

6. Billett S, Harteis C, Gruber H. International handbook of research in professional and practice-based Learning. Springer Dordrecht; 2014.

7. Gibson D, Dollarhide C, Moss J. Professional identity development: a grounded theory of transformational tasks of new counselors. Wiley; 2011.

8. Bonnie K. School psychologists as health-care providers in the 21st century: conceptual framework, professional identity, and professional practice. Journal School Psychology Review 2000;29(4):540-54.

9. Lapkin S, Jones T, Gilligan C. A systematic review of the effectiveness of interprofessional education in health professional programs. Nurse Education Today 2013;33(2):90-102.

10. Lairio M, Puukari S, Kouvo A. Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research 2013;57(2):115-31.

11. Nygaard C, Serrano MB. Student’s identity construction and learning: reasons for developing a learning-centred curriculum in higher education. Journal of Education Research 2009;3(3):233-53.

12. Songwatthanayuth P, Kitsawat S, Sirichot K, Boonlua S. Factors related the characteristics of graduates framework for higher education among nursing students in Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi province. Journal of Prachomklao College of Nurses Phetchaburi Province 2018;1(1):57-69. (in Thai).

13. Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd ed. New York, John Wiley and Sons Inc; 1977.

14. Surirak S, Chaktrimongkhol U, Malarat A, Jitarram P. The Synthesis of Graduated Identities Competencies Indicators for Bachelor of Public Health (Community Public Health), Sirindhorn Public Health College, Praboromarajchanok Institute. Journal of Nursing and Education 2017;10(4):76-94. (in Thai).

15. Prachanban, P. Research methodology in social science. Phitsanulok; 2010. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01