ผลของการเรียนรู้โดยการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในตนเอง ในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • มญช์พาณี ขำวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • วิไลลักษณ์ ศิริมัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • ชาลินี หนูชูสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง, ความมั่นใจในตนเอง, การสนทนาเพื่อการบำบัด, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การสนทนาเพื่อการบำบัดที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการบรรยายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คู่มือจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง สำหรับฝึกทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด ประกอบด้วย โจทย์สถานการณ์จำลอง แบบสังเกตการสนทนาเพื่อการบำบัด และข้อคำถามการสะท้อนคิด และส่วนที่ 2 แบบประเมินความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .92 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .95  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและการทดสอบค่าที 

          ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดภายหลังการทดลองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 2) คะแนนเฉลี่ยของความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)  ผลการวิจัยนี้สนับสนุนประสิทธิผลของการใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ

References

1. Suttirat C. 80 Innovations in learner centered. 7th ed. Nonthaburi: P Balance Design and Printing; 2016. (in Thai)

2. Benner P, Sutphen M, Leonard V, Day L. Educating nurses: a call for radical transformation. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2010.

3. Ambrose S, Bridges M, Pietro M, Lovett M, Norman M. How learning words: 7 research-based principles for smart teaching. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2010.

4. Bandura A. Perceived self-efficacy in cognitive development and functioning. Educational Psychologist 1993;28(2):117-48.

5. Wisawatapnimit P, Suttuneam U, Kiatseesakul J. Effect of simulation-based learning model for nursing practicum preparedness for patients with congestive heart failure on students’ satisfaction and self-confidence in learning of the third year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):224-34. (in Thai).

6. Sinthuchai S, Ubolwan K. Fidelity simulation based learning: implementation to learning and teaching management. Journal of Royal Thai Army Nurses 2017;18(1):29–38. (in Thai)

7. Ledbunnapong T. Simulation based medical education. Siriraj Medical Bulletin 2015;8(1):39-46. (in Thai)

8. Duangbubpha S, Jianvitayakij S. Evaluation of implementing clinical simulation teaching techniques in clinical practicum among nursing student. Rama Nurs J 2019;25(2):208-26. (in Thai)

9. Thatan S, Srijanpal W. Teaching method using simulation-based learning. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office 2017;23(1):1-10. (in Thai)

10. Kumkong M, Leejareon P, Aramrom Y, Jitviboon A. Effects of simulation-based learning on perceived self-efficacy in providing nursing care for advanced life support to patients with critical illness or emergency condition among nursing students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;3(3):52–64. (in Thai)

11. Kolb AY, Kolb DA. Learning styles and learning spaces: Enhancing experience learning in Higher education. Acad Manage Learn Educ 2005;4(2):193-213.

12. Jeffries PR. Simulation in nursing education: Form conceptualization to evaluation. 2nd ed. New York: National League for Nursing; 2012.

13. Khamwong M, Sirimai W, Kunlaka S, Wattanabenjasopa S, Nuchusuk C. Development of objective structured clinical examinations(OSCE) model in practicum of nursing care of persons with mental health problems subject. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2018;34(2):138-53. (in Thai)

14. Lioba H. Reflective practice in nursing. London: Learning Matters; 2010.

15. Bandura A, Adams N.E. Analysis of self-efficacy theory of behavioral change. Cognitive Therapy and Research 1977;1(4):287-308.
16. Sinthuchai S, Ubolwan K, Boonsin S. Effects of high- fidelity simulation based learning on knowledge, satisfaction, and self-confidence among the fourth year nursing students in comprehensive nursing care practicum Rama Nurs J. 2017;23(1):113-27. (in Thai)

17. Mould J, White H, Gallagher R. Evaluation of a critical care simulation series for undergraduate nursing students. Cont Nurs J Aust Nurs Prof 2011;38(1):180-90.

18. Oliveira SN, Massaroli A, Martini JG, Rodrigues J. From theory to practice, operating the clinical simulation in Nursing teaching. Rev Bras Enferm[Internet]. 2018; 71(Suppl 4):1791-8.

19. Pumthait T, Withunmatha M. Effect of reflection technique to attitude, confidence and achievement of fundamental of nursing practicum. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning 2018;12(2):144-54. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01