การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • โสภา รักษาธรรม
  • พัชรี วัฒนชัย
  • จารุวัส หนูทอง

คำสำคัญ:

วิจัยและพัฒนา, สื่อวีดิทัศน์, การบำบัดด้วยออกซิเจน, เด็ก, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลสื่อวีดิทัศน์เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็กสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยใช้กระบวนการพัฒนาสื่อแบบ ADDIE Model  ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม 2560 – เมษายน 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากตามกลุ่มนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงาน (Cluster random sampling) จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็ก 2) แบบทดสอบความรู้เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็ก 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยเด็ก (OSCE) และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์  การดำเนินการวิจัยมีทั้งหมด 3  ระยะ คือ    1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการด้านสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล 2) การพัฒนาและทดลองใช้สื่อวีดิทัศน์ และ3) การประเมินประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติทดสอบที (dependent t-test)

 ผลการศึกษาพบว่า

  1. ประสิทธิภาพ E1/E2 ของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็ก เท่ากับ 82.59/88.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
  2. คะแนนความรู้เรื่องการบำบัดด้วยออกซิเจนในเด็กของกลุ่มตัวอย่างภายหลังการชมสื่อวีดิทัศน์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t (47) = 13.60, p < .001)
  3. กลุ่มตัวอย่างสอบทักษะการปฏิบัติการให้ออกซิเจนในเด็กผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 (89.60 %, N=48) สูงกว่านักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ที่ไม่ได้ชมสื่อวีดิทัศน์ (78.16%, N=87)
  4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.82, S.D. = .24) และรายด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา รูปแบบ ส่วนประกอบ และการนำไปใช้พบว่ามีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

          ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการนำไปใช้ในการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง และเตรียมความพร้อมด้านทักษะให้นักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Khammani T. Teaching technique: knowledge for effective learning process Bangkok: Chulalongkorn
University Printing House; 2016. (in Thai)
2. otisan j. Role of Teachers’ in the education system. Journal of instructional Development. 2012;
6(2):97-108. (in Thai)
3. Mamom J. Outcomes of computer-mediated review lesson on pressure-sore dressing as observed
in second-year nursing students’ knowledge, practical skills and opinions. Thai Journal of Nursing
Councill. 2012; 27(3):63-76. (in Thai)
4. Howell, Jeremy. The use of television in agriculture extension. Education Televisional Instructional,
1960; no.4: 6-7.
5. Klaypet P, Kanchai S, Plengkratoke S. Satisfaction and learning outcome of nursing students about
learning media for promote to basic nursing skills. Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen.
2014. (in Thai)
6. Jungpanich A, Srisalaun O. Effects of using daily care plan video teaching on clinical self-confidence
and satisfaction of nursing students, Kuakarun faculty of nursing, Navamindradhiraj University.
Kuakarun Journal of Nursing. 2015;22(1):17-34. (in Thai)
7. Edna B, Beatriz A, Pep S., Mihaela E., Vicenc F. Video as a new teaching tool to increase student
motivation. 2014. Retrieved January 15, 2015 from https:// upcommons. upc. edu/e-prints/
bitstream/2117/12717/1/bravo-amante.pdf
8. Carvalho EC., Stina APN., Marmol MT., Garbin LM., Braga FTMM., Moreli L. et al. Effects of an
educational video on the oral hygiene of patients with hematologic disorders. 2014. Retrieved
Jun 2015; 16(2):304-11, from https:// dx.doi.org/10.5216/ree.v16i2.23300.
9. Pinar G, Akalin A, Abay H. The effect of video based simulation training on neonatal examination
competency among turkish nursing students. European Scientific, 2016;12(15):394-405.
10. Kruse Keil J. Technology-based training: theart and science of design, development, and
delivery. 2000. Retrived August 31,2016 from https://www.e-learningguru.com/article/art2 1.htm
11. Srisuk K. Research methodology. Chiangmai: Krongchang Printing; 2009. (in Thai)
12. Wannasuntad S., Tirapaiwong Y., Aomsin K., Raksatham S. Development the objective structured
clinical examinations (OSCE) to evaluate knowledge and clinical skills of nursing students.
Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(1):163-176. (in Thai)
13. Brahmawong C. Developmental testing of media and instructional package, Silpakprn Educational
Research Journal. 2013;5(1):5-20. (in Thai)
14. Paowana W. The efficiency of instructional media of vaginal douche for nursing care of persons with
health problem practicum III,Boromarajonani college of nursing, Udonthani. Jounal of nurses’
association of Thailand, North-eastern division. 2013;31(3):99-106. (in Thai)
15. Ariane F. Cardoso, Lucimara Moreli, Fernanda T.M.M. Braga, Christiane I. Vasques, Claudia B. Santos,
Emilia C. Carvalho. Effect of a video on developing skills in undergraduate nursing students for the
management of totally implantable central venous access ports. Nurse Education Today. 2012;
32:709-713.
16. Yoo MS, Park JH, Lee SR. The effects of case-based learning using video on clinical decision making
and learning motivation in undergraduate nursing students. J Korean Acad Nurs. 2010;40(6):863-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-02