การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฉุกเฉิน รุ่นที่ 7 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สำเร็จการอบรม จำนวน 60 คน อาจารย์ประจำและผู้ประสานงานวิชา จำนวน 10 คน ผู้บังคับบัญชาระดับต้นของผู้สำเร็จการอบรม จำนวน 48 คน อาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 12 คน คณะกรรมการหลักสูตร จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉินโดยใช้รูปแบบ CIPP Model วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test
ผลการศึกษาพบว่า
- ด้านบริบท พบว่า ผู้สำเร็จการอบรม อาจารย์ประจำและผู้ประสานงานวิชา และอาจารย์พี่เลี้ยงใน แหล่งฝึกมีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก โครงสร้างหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรเหมาะสม เนื้อหารายวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและสามารถนำไปใช้ได้จริงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
- ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้สำเร็จการอบรม อาจารย์ประจำและผู้ประสานงานวิชามีความคิดเห็นว่าอาจารย์ผู้สอน อาจารย์พี่เลี้ยงมีความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อที่สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนมีเพียงพอและทันสมัยอยู่ในระดับมาก
- ด้านกระบวนการ พบว่า ผู้สำเร็จการอบรม มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมประเมินผลการสอนของอาจารย์เหมาะสมมากที่สุด อาจารย์ประจำและผู้ประสานงานวิชามีความคิดเห็นว่าการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนรายวิชาแก่ผู้เข้าอบรมเหมาะสมมากที่สุด ส่วนการวัดและการประเมินผลทั้งผู้สำเร็จการอบรม อาจารย์ประจำและผู้ประสานงานวิชา มีความคิดเห็นว่าการแจ้งผลการเรียนรายวิชาให้ผู้เข้าอบรมทราบเหมาะสมมากที่สุด และมีความคิดเห็นด้านการจัดทำข้อสอบมีความเหมาะสมทั้งด้านปริมาณ ความยากง่าย และครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่เรียนน้อยที่สุด
- ด้านผลผลิต พบว่า สมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมโดยรวมระหว่างก่อนการอบรมและหลังสำเร็จการอบรมทันทีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และสมรรถนะของผู้สำเร็จการอบรมตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาระดับต้นโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean = 4.32, SD = 0.36)
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฉุกเฉินทั้งในด้านการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับอบรมด้านการพยาบาลฉุกเฉิน ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารหลักสูตร เพื่อให้การจัดการอบรมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้ารับการอบรมและหน่วยงานต้นสังกัด
Downloads
References
2. Bunsiricomchai P. Advance EMS Project. Emergency Medical Network 2016;2(4):5-6. (in Thai).
3. Thailand Nursing and Midwifery Council. Nursing Council Announcement: Preparation Criteria Program of Nursing Specialty and Course Management 2014. (Internet). 2014. (cited 2017 May 4) Available from: www.tnc.or.th/files/2014/04/act_of_parliament-8495/__92205.pdf
4. Thongthai W. Program Evaluation: Theory to Practice. (Internet). 2009. (cited 2016 Sep 5) Available from: http://www.doed.edu.ku.ac.th/article/eva_ curri.pdf.
5. Nethanomsak T. The Development of Self-Evaluation System on School-Based Curriculum at Elementary Education Level. (doctoral’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University; 2007. (in Thai).
6. Paiwithayasiritham CA. Development of the Curriculum Evaluation Model: An Application of a Meta-evaluation. (doctoral’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University; 2007. (in Thai).
7. Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. Illinois: Peacock Publishing; 1971.
8. Pinyo S, Uraiwan N, Ladda Y, Parichard M. An evaluation of the program of nursing specialty in perioperative nursing at Rajavithi Hospital. (Research report). Bangkok: Operative department at Rajavithi Hospital; (2011). (in Thai)
9. Somphong P. An Evaluation of Training Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care). (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University; 2012. (In Thai).
10. Tubsoongnoen P. The Competency of Emergency Nurses, Government Hospitals. (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University; 2009. (in Thai).
11. Kongterm S. The Development of Training curriculum to enhance analytical thinking instruction ability for teachers in the office of basic education commission. (doctoral’s thesis). Phitsanulok: Naresuan University; 2010. (in Thai).
12. Petchara T, keskunya C. The Evaluation of the Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care) Class 9th. (Research report); 2011. (in Thai).
13. Onsri P, Thaiudom A, Pathumkaew P. An Evaluation of Emergency Medical Service Nursing Course at Phramongkutklao Hospital. J The Royal Thai Army Nurses 2013;14(3):125-32. (in Thai).
14. Ruppinachokdee W. Measurement and Evaluation consistent with Teaching Techniques. (Internet). 2017. (cited 2017 Dec 10) Available from: http://regis.rmutp.ac.th/km_regis/ stock/2557/1-57.pdf.
15. Boontiva S, Thummak S, Lhaosupab N, Pitagsavaragon P. An Evaluation of Emergency Medical Service Nursing Course of Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. J The Royal Thai Army Nurses 2015;16(2):41-9. (in Thai).
16. Chonpracha S. The Development of non-formal education training curriculum for teachers in school under Chiengrai Educational Service Office Area 2. (Docteral’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University; 2007. (in Thai).
17. Sindhu S, Konggumnerd R, Wiwattanacheewin KA. Study of Factors Related to Emergency Medical Service of Professionnal Nurses. J Boromarajonani College of Nursing, Naknonratchasima 2014;20(2):32-45. (in Thai).
18. Watthanakuljaroen T. Development of Distance Training Packages on Information Communications and Technology used in Distance Education. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2011. (in Thai).
19. Ramkaew K., Oumtanee A. Working Experience of Emergency Nurses in Tertiary Care Hospital J. The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):41-9. (In Thai).
20. Vibulwong P, Rittiwong T. A Competency Evaluation of Participants from the Emergency Nurse Training Program at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2014;30(1):72-85. (in Thai).
21. Thananan S. Human resources training of benefits. Bangkok: TPN place; 2008. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น