ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในบุคลากรเทศบาลอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการกำกับตนเอง, พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย, บุคลากรเทศบาลบทคัดย่อ
ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเนื่องจาก การบาดเจ็บของศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยหรือสวมหมวกนิรภัยไม่ถูกต้อง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของบุคลากรเทศบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการ พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานจ้าง เทศบาลเมืองศรีราชา และเทศบาลนคร แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 46 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index) ได้เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไค – สแควร์ และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบเท่ากับ 2.97 (SD = 0.50) และ 0.30 (SD = 0.41) ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีอิสระ (Independent t-test) พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 19.67, p <.01) ดังนั้น โปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย ทำให้บุคลากรเทศบาล มีพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มมากขึ้น พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำโปรแกรมกำกับตนเองนี้ไปประยุกต์ใช้กับบุคลากรกลุ่มอื่นและ/หรือผู้ที่ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคคลได้กำกับตนเองให้ปฏิบัติพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยอย่างต่อเนื่อง
Downloads
References
2. Nokdee C. Thai people wear helmets less than 50% Thai Health Promotion Foundation [Internet]. 2014 [cited 2017 Jan 15]. Available from: http://www.thaihealth.or.th/Content/25560-Revealing that Thai people don't wear helmets %2050%20.html
3. Khonpikul C, Kronprasert N, Pichayapan P. The comparison of safety attitude and safety behavior for motorcyclists in university campuses. The 20th National Convention on Civil Engineering 8-10 July 2015 Chonburi; 2015. (in Thai).
4. Thai Roads Foundation. Report on road accident situation in Thailand 2012-2013. Bangkok; 2015. (in Thai).
5. Surveillance units and reflecting road safety situations. Wearing a helmet.[Internet]. 2013 [cited 2017 Jan 15]. Available from: http://trso.thairoads.org/statistic/risk/detail/5068
6. Road Accident Victim Protection Company Limited. Chonburi decade of road safety 2011–2020 [Internet]. 2016 [cited 2017 Jan 15]. Available from: http://www.thairsc.com/p77/index.htm?provid=20. (in Thai)
7. Boonprasert P. Si Racha District, Safe driving campaign put on a helmet [Internet]. (2016). [cited 2017 Jan 15]. Available from: http://thainews.prd.go.th/website_th /news/ news_detail/TNSOC5904070010055
8. Chimchaiyaphum T, Sota J. The effectiveness of motorcycle accident prevention program by applying self-efficacy theory and Hiyari Hatto risk map among secondary school's student in Phrathatnongsammuen School, Bankaeng sub-district, Phukieo district, Chaiyaphum province. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima Journal 2016;22(3):33-44. (in Thai)
9. Peden M. World report on road traffic injury prevention. Geneva; 2004
10. Bandura A. Social cognitive theory of self-regulation. Organizational Behavior and Human Decision Processes 1991;50:248-87.
11. Srisatidnarakul B. Methodology in nursing research. 5th ed. Bangkok: you and i inter media; 2010. (in Thai).
12. Srisakool S. The effects of health protective motivation for helmet wearing behavior among higher secondary school students, Sri racha district, Chonburi province [Master of Nursing science]. Chonburi: Burapha University; 2015. (in Thai).
13. Chumkum P, Powwattana A, Thiangthum W. Effect of self - regulaiton program on chronic kidney disease preventive behavior among uncontrolled type 2 diabetes patients. Journal of Boromarajanani college of nursing, Bangkok 2019;35(1):130-41. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น