การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ทองเพชร
  • ชุลีพร หีตอักษร
  • โศรตรีย์ แพน้อย
  • ปิยะดา ยุ่ยฉิม
  • พูนศรี จีนด้วง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การดูแลตนเอง, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานในตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยมีแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participative observation) การบันทึกภาคสนาม (Field notes) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

          ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผู้ให้ข้อมูลอธิบายว่าความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มีการดูแลตนเองที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลมีการประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค การออกกำลังกาย การรับประทานยา และการปรับแบบแผนการดำเนินชีวิตของตนเองในการดูแลสุขภาพ 2) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเองในปัจจุบัน ด้านร่างกาย ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ ด้านจิตใจ ยอมรับต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ต้องมีการรักษาและดูแลตนเองที่ดีอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการดูแลตนเอง ผู้ให้ข้อมูลเน้นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ปรับวิธีรับประทานยา ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และประยุกต์ใช้วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การนวดแผนไทย การออกกำลังกายแบบโนราบิค เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และป้องกันข้อติด การใช้สมุนไพร ได้แก่ มะระขี้นก ใบเตยหอม ยอดตำลึง ว่านหางจระเข้ และใบกระเพรา มาทดลองใช้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่

References

1. Arbsuwan N, Pantuwech N. Campaign Message on World Diabetes Day 2015 (Financial Year 2016). Available from: http://thaincd.com /news/hot-news-view.php?id=8907. March 2, 2015. (in Thai)

2. Keiddonfaek C. 150 kinds of diabetes medications. 2nd ed. Bangkok: Public Health Center; 2009. (in Thai)

3. Surat Thani Provincial Health Office. NCDs clinic quality assessment data. Suratthani: Department of family clinical practice and community, Surat Thani Provincial Health Office; 2018. (in Thai).

4. Maluan Health Promoting Hospital. NCDs clinic quality assessment data. Suratthani: Department of family clinical practice and community, Maluan Health Promoting Hospital; 2018. (in Thai).

5. Chuengsatiansup K. Community Health Service Culture, Deliver of Health Care: Social Medicine, Sociology Medical. 3rd.ed. Nonthaburi: Society and Health Institute; 2008.

6. Pattha P. In Health Culture and Remedies: Social Concepts and Anthropology. Medical. Kosom Chongsathiansap (editor). Bangkok: Social and Health Research Office. (2008). (in Thai)

7. Sony K, Chueamuangphan N, Maneerat P, Mahawongsanan O. Assessment of group versus individual diabetes self-management education and support (DSMES) in type 2 diabetes patients at primary care unit and diabetes clinic, Chiangrai Prachanukhron hospital. Chiangrai Medical Journal 2017;9(2):19-28. (in Thai)

8. Klungthumnium K, Wirojratana V, Jitramontree N, Pongthavornkamol K. The relationships between illness representations, emotional representation and self-care behaviors in older persons with uncontrolled type 2 diabetes. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2016;17(2):135-144. (in Thai)

9. Thai Health Promotion Foundation. Norabic [Internet]. 2017 [cited 2018 July 5]. Available from: http://www.thaihealth.or.th

10. Rittiruang A. The effects of the Noraprayuk exercise program applying self-efficacy and social support on glycosylate hemoglobin levels among older adults with diabetes mellitus type 2[master’s thesis]. [Chonburi]: Burapha University; 2015. (in Thai).

11. Chaimay B, Boonrod T, Simla W. Factors affecting herbal uses in primary health care. The Public Health Journal of Burapha University 2012;7(2):25-37. (in Thai).

12. Kreungngern M, Kreungngern D. Herbs for treat diabetes mellitus. Journal Science KPRU 2014;1(1):13-24. (in Thai).

13. Chetthakul O, Thungtunyangkoon P. Herbs Against Diabetes: Gather Herbs That Have Experimental reports and practical experience. Bangkok: Herbs for self-reliance. 1997.

14. Pimpa R, Therawiwat M, Imamee N, Tansakul S. Herbal using behaviors among diabetes, Kanchanaburi Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2014;30(3):14-25. (in Thai).

15. Phiman V, Phoonbud P. Effects of bitter melon in the treatment diabetes mellitus: mechanism of action and clinical effectiveness. Mahasaralham: Faculty of Pharmacy; 2016.

16. Jaitae S. Cultural health in Li watershed community at Lumphun province. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2016;22(2):61-73. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-02