การประเมินส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการในการขับเคลื่อนระบบสุขชุมชน สู่ระบบสุขภาพอำเภอ เครือข่ายพยาบาล ภาคตะวันออก ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พนารัตน์ เจนจบ
  • วรรณภา ประทุมโทน
  • สมตระกูล ราศิริ
  • พรเพ็ญ ภัทรากร

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ, การมีส่วนร่วมในชุมชน, สมรรถนะของพยาบาลชุมชน, ระบบสุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

          วิจัยประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน สู่ระบบสุขภาพอำเภอ เครือข่ายพยาบาลชุมชนภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล กิจกรรมและกระบวนการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนด้านการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ แบบมีส่วนร่วม ในสถานประกอบการ ดำเนินการในเขตสุขภาพที่ 6 ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561  วิธีดำเนินการโดยอำเภอที่พัฒนารูปแบบและกลไกระบบสุขภาพชุมชนสู่ระดับอำเภอจำนวน 3 อำเภอ สถานประกอบการ 2 แห่ง พยาบาลชุมชน 20 คน ทีมสุขภาพจำนวน 16 ทีม สหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายจำนวน 100 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพระบบบริการปฐมภูมิและภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ คือ 1) การพัฒนาศักยภาพพยาบาลที่อยู่ในระบบปฐมภูมิให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ, ความสามรถในการปฏิบัติกิจกรรมากรสร้างเสริมสุขภาพ, ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, ความสามารถในการพัฒนาภาคีเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, ความสามารถในการวิจัยและการจัดการความรู้ และการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ในการปฏิบัติ 2) การสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพภายใต้บริบทของชุมชน  3) การวิเคราะห์ปัญหา ทุนชุมชน 4) ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา  ควรสนับสนุนให้มีกลไกหนุนเสริมพยาบาลและบุคคลากรในระบบปฐมภูมิและภาคีร่วมพัฒนากระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม  และติดตามประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน เพื่อเป็นการสร้างระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน 

References

1. Department of Health. Health Promotion in workplace. [cited 2019 Jan 09] Available from: http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=factory2.; 2517. (in Thai)

2. O’Donnell M P. Health promotion in the workplace, 2002; USA: Delmar.

3. Silrapasuwan P, Kaewboonchoo O, Khumpakorn S, Keawphan W, Khan P. Roles and Functions of Occupational Health Nurses according to the Standard of professional Practices in Thailand. Journal of Public Health Nursing 2007;21(1):60-79. (in Thai)

4. Chamnaachang S, Rattanagreethakul S, Junprasert S. Health Promoting Competencies and Performances of Nurses in Primary Care Unit, the Eastern Region. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2017;25(2):19-30. (in Thai)

5. Archanuphap S, et al. District Health System (DHS) 2014; Available from https://www.slideshare. net/AuampornJunthong/dhs-40127968

6. Nithra kritarawitriwong, Wuttichai Chariya. Implementing District Health System Based on Primary Health Care. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(3):6-15. (in Thai).

7. Chan M., Public Health in the 21st Century: Optimism in the midst of precedence challenges. 2017 [cited 209 Jan 09]. Available from: http://www.who.int/dg/speeches /2007/030407/en?#

8. Stufflebeam DL, Coryn CLS. Evaluation: Theory, models and applications (2nd eds.). San Francisco: Jossey-Bass ;2014.

9. Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation: Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass; 2007.

10. Burke T., O' Neill C. Community nurses working in piloted primary care teams: Irish Republic. British Journal of Community Nursing 2010;15(8): 398-404.

11. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) and the Association of Teachers of Preventive
Medicine (ATPM). The Competency-to-Curriculum Toolkit. 2017 [cited 209 Jan 09], from: Available from: http://cphp.sph.unc.edu/lifelonglearning/toolkit/Competency_to_Curriculum_toolkit.pdf.

12. The Ottawa Charter for Health Promotion. World Health Organization [WHO], 1986) https://www. who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/

13. Krugkraipeth N, Junprasert S, Rattanagreethakul S, Techasuksri T, Viriya C, Leucha T, Ritngam A, Jareankankai J. Health Promotion Competencies among Nurses, Eastern region, The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2017;25(3):30-40.

14. Sinthuya A. Roles of professional nurses for occupational health and environmental practices in public Hospitals. Graduate School, Chaing mai, University, Available from http://search.lib.cmu. ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1500135http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/30791; 2011. (in Thai)

15. Cordia, C. et al., Health Promotion International. 2000; 15 (2) : 155–167, Available from https://doi.org/10.1093/heapro/15.2.155

16. Cacari-Stone L, Wallerstein N., Garcia AP, Minkler M. The Promise of community-based participatory research for health equity: a conceptual model for bridging evidence with policy. American Journal of Public Health 2014;104(9):1615-23.

17. Freudenberg N, Tsui E. Evidence, power, and policy change in community-based participatory research. American Journal of Public Health 2014;104(1):11-4.

18. Frerichs L, Hassmiller Lich K, Dave G, Corbie-Smith G. Integrating Systems Science and Community-Based Participatory Research to Achieve Health Equity. American Journal of Public Health 2016;06(2):215-22.

19. Graves BA, Hamner K., Nikles S, Wells H. Use of Community-Based Participatory Research toward Eliminating Rural Health Disparities. Online Journal of Rural Nursing & Health Care 2015; 15(2):63-87.

20. Vanichayobol Y, Kalampakorn S, Suwan-ampai P. Nurses’ Roles in Implementing Occupational and Environmental Health in Workplaces. Journal of Public Health Nursing 2515;21(1):60-79. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-02