สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงหัวใจและหลอดเลือด, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, ความฉลาดทางสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 532 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สัมภาษณ์จากแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ผ่านการตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ซึ่งได้ค่าอัลฟ่าของครอนบาชเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์
ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 71.56 อายุเฉลี่ย 56 ± 7.12 ปี อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 72.37 และร้อยละ 87.97 มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากการประเมินสถานการณ์พบว่าผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 25.19 (95%CI: 21.55-29.10) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ เพศหญิง (adj. OR = 6.09, 95%CI: 2.62-14.12) อายุหกสิบปีขึ้นไป (adj. OR =4.38, 95%CI: 2.36-8.11) สถานภาพสมรสโสด หม้าย หย่าร้าง (adj. OR =2.88, 95%CI: 1.53-5.42) การออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ (adj. OR =3.86, 95%CI: 2.20-6.71) ดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 25 (adj. OR =3.25, 95%CI: 1.88-5.62) ระดับไขมันแอลดีแอล ≥ 100 มก./ดล. (adj. OR =8.42, 95%CI: 3.43-20.69) ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มก./ดล. (adj. OR = 5.49, 95%CI: 3.09-9.72) และทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ต่ำ-ปานกลาง (adj. OR =2.95, 95%CI: 1.67-5.22) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและเน้นการพัฒนาทักษะการตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ การควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ป่วยเพศหญิง วัยสูงอายุและไม่มีคู่สมรส เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
Downloads
References
downloadable/ucm_480086.pdf
Association of Hypertension of Thailand. Thai Hypertension Society: Guidelines in the Treatment of Hypertension. Bangkok: Huay Nam Printing Co., Ltd; 2015. (in Thai)
Corbin, C., Corbin, W., Welk, G., &, Welk, K. (2008). Concepts of fitness and wellness: A comprehensive lifestyle approach. New York: McGraw-Hill.
Han, T.S., Seidell, J.C., Currall, J.E., Morrison, C.E., Deurenberg, P., &, Lean, M.E. (1997). The influences of height and age on waist circumference as an index of adiposity in adults. Int J Obes Relat Metab Disord, 21(1), 83-89.
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.
Keawdunkeang, K. (2011). Health literacy. Bangkok: New Thammada Published. (in Thai)
Muangsom, N. (2010). Ambulatory care nursing service diabetes in the community. KhonKaen: Annaoffset publisher. (in Thai)
Nakapong, R., Srichang, N., &, Jumprakarw, L.A. (2010). practical guide for health behavioral modification to reduce multiple risk factors on cardiovascular disease. Nonthaburi : Ministry of Public Health. (in Thai)
Piyachon, C. (2006). Prevention of coronary artery disease. Bangkok: Sukkaprabjai Printing Co. (in Thai)
Potipiti K. 2009. Health behaviors of the pre-ageing and risk factors of cardiovascular diseases : A study based on Kanchanaburid Dss Data Thailand [master’s thesis]. [Bangkok]: Mahidol University. (in Thai).
Pityapinyo, P., Lakumpun, S, Sujilalus, D., &, Keawpan, W. (2015). Factors Associated with Health Behavior in Diabetic Patients with Risk of Cardiovascular Disease [master’s thesis].[Bangkok] : Health Systems Research Institute. (in Thai).
Ponlar K. 2013Factors Associated with Diabetic Coronary Disease Among patients with type 2 Diabetes mellitus in Phuwiang Hospital Khonkaen Province. KKU journal for public health research, 6(4), 35-44. (in Thai).
Punset, K., Klinthuesin, S., Kingkaew, A., & Wongmaneeroj, W. (2013). Cardiovascular risk among staffs working at The Central of Ministry of Public Health Using Risk Assessment of Rama-EGAT Heart Score. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 23(2), 57-70. (in Thai).
Tongtiam, W, Tantikosoom, P., &, Jitpanya, C. (2016). Factors related to physical activity in patients with cardiovascular disease: Synthesis of research in Thailand. Journal of The Police Nurses, 8(1), 34-43. (in Thai).
Tuntigosum, P. (2015). Prediction of coronary artery disease with the assessment tool of gender age and type of chest-pain. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 19-33. (in Thai).
Udonthani Provincial Health Office. (2015). Report Depression KPI Standards for Cause of Death Retrieved from: http://203.157.102.141/ hdc/reports/report.php?source= formated/opd10_sex.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=8881445af732eb166fa2470ba5046956. (in Thai).
Udonthani Provincial Health Office.Key Performance Indicator Report for Major Non-Communicable Disease. Retrieved from: http://203.157.102.141/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11. (in Thai).
Vasan, R.S., Larson, M.G., Leip, E.P., Kannel, W.B., &, Levy, D. (2001) Assessment of frequency of progression to hypertension in non-hypertensive participants in the Framingham Heart Study: a cohort study. The Lancet, 358(9294), 1682-1686.
Word Health Organization. (2016). World health statistics 2016: Monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น