ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิด, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีควาบกพร่องด้านการรู้คิด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิด ประเมินโดยแบบประเมินพุทธิปัญญา (MoCA) คะแนนตํ่ากว่า 25 คะแนน ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่ควบคุมไม่ได้และสามารถติดต่อสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ จำนวน 60 คนและมีการจับคู่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านเพศ อายุ และระดับคะแนนความบกพร่องด้านการรู้คิด แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิดที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการฟื้นฟูการรู้คิดของฮัคแคนและคณะ ร่วมกับกระบวนการแก้ไขปัญหา 4 ขั้นตอนของดีซูริลล่าและเนซู จำนวน 8 ครั้งๆ ละ 90-120 นาที จำนวน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิด ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (CSDD) ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signed Ranks test) และแมน-วิทเนย์(The Mann-Whitney U test)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) คะแนนภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิดกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง (Mean Rank =0.00) ตํ่ากว่าก่อนการทดลอง (Mean Rank =15.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2) คะแนนภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิดหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิด กลุ่มทดลอง (Mean Rank =16.90) ตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ (Mean Rank = 44.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น