การพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับสตรีไทย
คำสำคัญ:
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, มะเร็งเต้านมบทคัดย่อ
มะเร็งเต้านมจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีพบจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากขึ้น เป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งที่มะเร็งเต้านมสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเอง และรักษาหายขาดได้หากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แต่ในความเป็นจริง มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เช่น ทักษะในการสังเกตลักษณะที่ผิดปกติทักษะการคลำ นอกจากนี้ยังขาดการเอาใส่ใจ หรือขาดความมั่นใจ ซึ่งในบริบทของสตรีไทย ยังคงต้องสอนให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของพยาบาลสาธารณสุขไทย จะมีหลายวิธีการที่จะพัฒนาความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เช่น การสอน ดูวิดีทัศน์ แจกคู่มือ แผ่นพับ สาธิตและสาธิตย้อนกลับ และการแบ่งกลุ่มเป็นต้น แต่มีข้อเสนอแนะทางการพยาบาลอีกวิธีหนึ่งที่ได้ถูกมองข้ามไป คือ การพัฒนาความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของแกนนำสตรีชุมชนแล้วนำมาถ่ายทอดให้กลับสตรีในชุมชน ทำให้สตรีชุมชนมีความรู้และทักษะการตรวจเต้านมได้ถูกต้องพร้อมกับมีทัศนคติที่ดีในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแกนนำสตรีชุมชนมีความเข้าใจในบริบทของสตรีในชุมชน มีความใกล้ชิดสามารถซักถามในส่วนที่สงสัยได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถติดตามตรวจเยี่ยมสตรีในชุมชนและประเมินผลการตรวจจากสมุดบันทึกการตรวจเต้านมทุกเดือนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหนึ่งปีสามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมทักษะที่สตรีในชุมชนปฏิบัติไม่ถูกต้องได้แกนนำสตรีสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนพยาบาลไทยได้เป็นอย่างดี ทำให้พยาบาลไทยมีเวลาพัฒนาการให้การพยาบาลด้านอื่นต่อไป
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น