ภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์ของพยาบาลที่เป็นจริง, ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติ, ผู้ใช้บริการ, แผนกผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเ์พื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของพยาบาลที่เป็นจริงกับภาพลักษณใ์นอุดมคติตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก และเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการตามความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ ผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร ใน ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลที่เป็นจริง และแบบสอบถามการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชสถิติพรรณนาการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าการรับรู้ที่เป็นจริง (t = -8.92, p <.001) เพศหญิงมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าเพศชาย (t=2.80, p > .01) ผูรั้บบริการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมากกว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. และมัธยมปลาย/ปวช. (F= 3.09, p < .05) และผู้ที่มาใช้บริการครั้งที่ 4 ขึ้นไปมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าผู้ที่มาใช้บริการครั้งที่ 2 (F= 4.56, p > .01) อายุและอาชีพไม่พบความแตกต่าง จากผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารการพยาบาลควรกำหนดนโยบายหรือมาตรการให้พยาบาลปฏิบัติและแสดงภาพลักษณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ การมีทักษะความสามารถอย่างมืออาชีพ การแต่งกายที่สง่าเสริมบุคลิกภาพ การแสดงความเป็นมิตรตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไปมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในทางที่ดีมากที่สุด นอกจากนี้ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลทางบวก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นเพศชาย ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู่ใช้บริการรายใหม่
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น