ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานต่อความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน, ความฉลาดทางอารมณ์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ความฉลาดทางอารมณ์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ ของเด็กโดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเป็น ช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี ที่ศึกษา ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนดไว้ จำนวน 53 คู่ ได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คู่ และกลุ่มควบคุม 27 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของ Bandura, A. (1986) ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการใส่ใจ กระบวนการจำ กระบวนการเลียนแบบ และกระบวนการจูงใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคสแควร์ และ การทดสอบสถิติที่สำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ทั้งคะแนนโดยรวม และคะแนนรายด้านทุกด้าน ดังนั้นผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กควรนำโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น