พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรที่ทำงานในระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วงศา เล้าหศิริวงศ์
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์
  • วรรณนภา สระทองหน
  • สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, เกษตรแบบมีพันธะสัญญา

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด (SChE) และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ SChE ของเกษตรกรที่ทำงานในระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาจังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรที่ทำงานในระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา จำนวน 318 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน

3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงได้ค่าอัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.86 และตรวจระดับ SChE ทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple regression นำเสนอค่า Mean difference พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

         ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 66.25 ใช้สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส เกษตรกรมีความรู้และทัศนคติต่อการทำงานในระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.37 และร้อยละ 46.86 ตามลำดับเกษตรกรมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชไม่เหมาะสม โดยไม่ปฏิบัติและปฏิบัติน้อยมากในการใส่ผ้าปิดปากจมูกและใส่ถุงมือร้อยละ 47.98 และ 42.91 ตามลำดับ ร้อยละ 4.40 มีระดับ SChE ผิดปกติ โดยคา่ เฉลี่ย SChE เพศชายและหญิง เทา่ กับ 7.69 ± 1.63 U/ml และ 7.64 ± 1.60 U/ml ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ

SChE ได้แก่ ระยะเวลาที่ทำหน้าที่ฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช (Mean difference = 0.56 U/ml ; 95%CI:0.11 to 1.01, p-value = 0.015) และชนิดของพืชที่เกษตรกรปลูก (Mean difference=0.73 U/ml ; 95%CI:0.03 to 1.43, p-value = 0.039) ดังนั้นควรวางกลยุทธในการสร้างความตระหนักต่อปัญหาจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช และส่งเสริมการใช้อุปกรณ์

ป้องกันสารกำจัดศัตรูพืช

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-05