พฤติกรรมสุขภาพและกลุ่มอาการเมแทบอลิกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิชัย อสิพงษ์ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันทนา มณีศรีวงศ์กูล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรรณวดี พุธวัฒนะ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มอาการเมแทบอลิก, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ยาต้านไวรัส

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีและไม่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน ที่มารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่คลินิกภูมิคุ้มกันผู้ใหญ่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 2 ชุด ได้แก่ 1.แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและสภาวะสุขภาพ 2. แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพรายด้านที่อยู่ในระดับดี คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านกิจกรรมและการออกกำลังกาย และด้านจิตสังคม(ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพที่อยู่ในระดับไม่ดี คือ ด้านโภชนาการ ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีและไม่มีกลุ่มอาการเมแทบอลิก พบว่าพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.169, p <.05) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมและการออกกำลังกาย ด้านจิตสังคม(ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคล ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05)  ผลการศึกษานี้ เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทีมสุขภาพ ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ติดเชื้อที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยควรเน้นความรู้ด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันกลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Brown, T.T., Cole, S.R., Li, X., Kingsley, L.A., Palella, F.J., Riddler, S,A. … Adrian, S. (2005). Antiretroviral therapy and the prevalence and incidence of diabetes mellitus in the multicenter AIDS cohortstudy. Arch Intern Med, 165(10), 1179-84.

Bureau of AIDS, TB, and STIs, Department of Disease Control. (2016). Situation and Prevention of AIDS and sexually transmitted diseases. Retrived from https://www.aidsstithai.org/ contents/view/60.

Ginggeaw, S. (2013). Relationships between selected factors health behaviors and medication adherence among people living with HIV. Community Health Nurse Practitioner, Mahidol University.

Jantaramano, S., & Sawangareeruk, J. (2011). Lifestyles and health behaviors of persons with HIV/AIDS with good quality of life. Thai Journal of Nursing Council, 26(2), 57-69.

Larpanichpoonphol, P., & Rongrungreung, Y. (2009). HIV infected in Adult, Wanchai Wanachiwanawin Editor. Evidence-Based Medicine I. (first edition). Bangkok: Alternative and Holistic health.

National Cholesterol Education Program. (2001). Executive Summary of Third Report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel (III), Retrieved from https://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/cholesterol/atp3xsum.pdf.

Norchaiwong, A. (2002). Factors affecting self-care of people with HIV/AIDS. Saraphi district Chiang Mai province. Master of Public Health. Faculty of Graduate studies, Chiang Mai University.

Pender, P.J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M.A. (2006). Heath promotion in nursing practice. New Jersey: Pearson Education.

Seaberg, E.C., Munoz, A., Lu, M., Detels, R., Margolick, J.B., Riddler, S.A., & Phair, J.P. (2005). Association between highly active antiretroviral therapy and hypertension in a large Cohort of men followed from 1984 to 2003. Aids, 19(9), 953-960.

Seangchart, B. (1996). Self-care and cultural of among people receiving HIV/AIDS: The study in the Northeastern of Thailand. Doctor of Philosophy in Nursing Science, Mahidol University.

Silva, E.F., Lewi, D.S., Vedeovato, G.M., Garcia, V.R., Tenore, S.B., & Bassichetto, K.C. (2010). Nutritional and clinical status, and dietary patterns of people living with HIV/AIDS in ambulatory care in Sao Paulo, Brazil. Rev Bras Epidermiol, 13(4). 677-688.

Siwavejtipikul, P. (2008). Self-care behaviors of HIV/AIDS patients with highly active antiretroviral therapy. Master of Nursing Science Degree in Community Nurse Practitioner, Naresuan University.

Talerd, W. (2014). Health behaviors of working-age patients with HIV/AIDs receiving antiretroviral therapy in community hospitals Surin province. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Khonkaen University.

Tipkanjanaraykha, K., Kangchai, W., Hengudomsub. P., & Schneider, J. K. (2016). A Metabolic syndrome self-management program for older adults: A Randomized controlled trial. Journal of College of Nursing Bangkok, 32(2), 12-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-03