ผลของการบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่มต่ออาการซึมเศร้า ในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ:
อาการซึมเศร้า, การบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่ม, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบสองกลุ่ม ก่อน หลังและระยะติดตามผล 1 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่มต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึง เมษายน พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 44 คนที่มีอาการซึมเศร้าในระดับน้อยถึงปานกลาง ประเมินโดยแบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย(PHQ-9) ฉบับภาษาไทยของหล่อตระกูล และคณะ (2008) แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 22 คน) กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่ม จำนวน 7 ครั้ง (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง 60-90 นาทีต่อครั้ง) กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซํ้า และ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า
1 คะแนนเฉล่ยี ของอาการซึมเศร้าในผ้สู ูงอายุโรคเร้อื รังในกล่มุ ทดลอง ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
2. คะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง กล่มุ ทดลองมีค่าคะแนนเฉล่ยี ของอาการซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นอกจากนั้นยังพบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่มสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น