ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกัน การติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี หงษ์สุทธิ
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรมการป้องกัน, การติดสารเสพติด, นักเรียนชาย, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

          ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภัยคุกคามกับประชากร โดยเฉพาะประชากรที่เป็นเยาวชนก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งต่อผู้เสพ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การส่งเสริมพฤติกรรม เพื่อป้องกันการติดสารเสพติดจึงมีความจำเป็น การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดและปัจจัยทำนาย ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากการติดสารเสพติด และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด จำนวน 169 คน แบบวัดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด แบบวัดทัศนคติต่อยาเสพติด แบบวัดความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากการติดสารเสพติด แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองเท่ากับ 26.09 (S.D.=6.08) โดยมีคะแนนระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 51.50 รองลงมาคือระดับสูง ร้อยละ 46.7 จากปัจจัยทำนายที่ทำการทดสอบพบว่า ความคาดหวังความในสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากการติดสารเสพติด (ß = .267, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม (ß = .246, p < .01) สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายในโรงเรียนขยายโอกาส ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดได้ ร้อยละ 17.9 (R2 = .179, p < .05)

            จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าในการป้องกันนักเรียนจากการติดสารเสพตดิ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนชายในโรงเรียนขยายโอกาส ควรพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมที่ส่งเสริมความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและการสนับสนุนทางสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย