ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิรินภา ฉัตรเงิน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้สูงอายุจำนวน 394 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์จากผู้สูงอายุ จำนวน 374 คน คิดเป็นร้อยละ 94.92 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประยุกต์มาจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของโรเซนสต๊อก ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม และแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพซึ่งประกอบด้วย ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ด้านการรับรู้ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม ดา้ นการรับรูป้ ระโยชนข์ องการปฏิบัติพฤติกรรมลดความเสี่ยงตอ่ การเกิดภาวะสมองเสื่อมด้านการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม และด้านสิ่งชักนำใหเ้กิดการปฏิบัติพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม มีค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.94, 0.88, 0.88, 0.86,1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และค่าความเที่ยง(Chronbach’s alpha coefficient) เทา่ กับ 0.72, 0.71, 0.77, 0.89, 0.89 และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก(Mean = 3.63, S.D. = 0.50) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้แก่สิ่งชักนำใหป้ ฏิบัติ (β = .27, t = 4.26, p < .001) เพศหญิง (β = .24, t = 4.58, p < .001) การรับรูโ้ อกาสเสี่ยงตอ่ การเกิดภาวะสมองเสื่อม (β = .17, t = 2.42, p < .05) จำนวนโรคประจำตัว (β = .15, t = 2.91, p < .01) และอายุ (β = .12, t = 2.39, p < .05) โดยสามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได ้ ร้อยละ 18 (R2 = .18, p < .001)

ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าผู้ให้บริการดูแลสุขภาพผูสู้งอายุควรให้ความรู้แนะนำการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและกระตุ้นเตือนให้ผู้สูงอายุปฏิบัติพฤติกรรมลดเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างสม่ำเสมอ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Aekplakorn, W. (2009). Thai National Health Examination Survey, NHES IV 2008-09. Nonthaburi: 2nd ed. Bangkok: Union Creation. The Graphico Systems.

Alzheimer’s Association. (2016). Alzheimer’s Disease Facts and Figures. Alzheimer’s & Dementia 2016. Retrieve from http://www.alz.org/documents_custom/2016-facts-and-figures.pdf

Alzheimer ’s Disease International, and Alzheimer’s Australia. (2014). Dementia in the Asia Pacific Region. Alzheimer’s Disease International, London.

Assantachai, P. (2011). Common Health Problems in Older Adulths. Callahan, C. M., Unverzagt, F. W., Hui, S. L.,
Perkins, A. J., & Hendrie, H. C. (2002). Six-item screener to identify cognitive impairment among potential subjects for clinical research. Medical Care, 40(9), 771-781.

Changmai, N. (2013). Factors Related to Health Promotion of the Elderly in Bangraknoy Subdistrict, Mueang District, Nonthaburi Province. Master of Science (Health Education). Kasetsart University.

Dhalwani, N. N., O’Donovan, G., Zaccardi, F., Hamer, M., Yates, T., & Davies, M. (2016). Long terms trends of multimorbidity and association with physical activity in older English population. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 13(8), 1-9.

Jisabai, J. (2010). Self-Care Behavior and Quality of Life of the Elderly People in the Elderly People Club,Bangkoknoi District Bangkok Matropolitan. Master of Science Degree in Health. Srinakharinwirot University.

Joychoo, N., Pinyopasakul, W., & Chareonkitkarn, V. (2014). Relationships among Age, Perceived Benefits of Health Behaviors, Perceived Barriers of Health Behaviors and Health Behaviors in Patients with Ischemic Stroke. Ramathibodi Nursing Journal, 20(2), 263-248.

Keawwandee, K., Siriswang, W., & Katunya, G. (2015). Factors Related to Self-care Behaviors in Hypertensive Risk Groups from Nongyoung. Proceedings of the 15 th Graduate Studies of Northern Rajabhat University Netwark Conference (pp.13-23) Naknonsawan: Naknonsawan Rajabhat University.

Kostka, J., Kostka, T., & Borowiak, E. (2017). Physical Activity in Older Adults in Relation to Place of Residence and Coexistent Chronic Diseases. Journal of Physical Activity and Health, 14(1), 20-28.

Limpawattana, P. (2011). Preventive Strategies of Dementia. North-Eastern Journal of Neuroscience, 6(3), 16-23.

Muangpaisan, W. (2013). Dementia: Prevention, Assessment and Care. 1st ed. Bangkok: Parbpim Printing.

Maunmee, W. (2014). Factors Influencing Preventive Behaviors for Cerebrovascular Disease among Hypertensive Patients in BangraKam District, Phitsanulok Province. Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner. Naresuan University.

National Statistical Office. (2014). Eldery in Thailand Survey 2014. Bangkok: Text and Journal Publication.

Rosenstock, I. M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. In M. H. Becker, (Ed.), The Health Belief Model and Personal Health Behavior (pp. 1-8). Thorofare, NJ: C.B. Slack.

Srisathitnarakul, B. (2010). The Methodology in Nursing Research. 5th ed. Bangkok: You and I Intermedia.

Strategy end Evaluation Department. (2015). Bangkok Statistics 2015. Retrieved from http://www. bangkok.go.th/upload/user/statistic/stat%202558(thai).pdf.

Sujamnong, S., Therawiwat, M., & Imamee, N. (2013). Factor Related to Self- Management of Hypertensive Patients, Taladkwan District Health Promoting Hospital, Nonthaburi Province. Journal of Boromrajonani College of Nursing, Bangkok, 29(2), 20-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-05