การพัฒนารูปแบบการสอบ OSCE สำ หรับประเมินความรู้และทักษะ การพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาล DEVELOPMENT OF THE OBJECTIVE STRUCTURED CLINICAL EXAMINATIONS (OSCE) TO EVALUATE KNOWLEDGE AND CLINICAL SKILLS OF NURSING STUDENTS
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การประเมินทักษะทางคลินิก, การสอบ OSCE, นักศึกษาพยาบาล, model development, clinical skill evaluation, Objective Structured Clinical Examinations (OSCE), nursing studentบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสอบทักษะทางคลินิก (OSCE) ด้านการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์เกี่ยวกับการสอบ OSCE 2. การพัฒนารูปแบบการสอบOSCE 3. การเตรียมความพร้อมนักศึกษาและอาจารย์ต่อการสอบ OSCE 4. การทดลองใช้รูปแบบการสอบ OSCE และ 5. การประเมินผลรูปแบบการสอบ OSCE รูปแบบการสอบ OSCE ที่พัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน (P-DARE Model) ประกอบด้วย 1. การเตรียมการ (P: Preparation) 2. การสร้างข้อสอบและแบบประเมิน (D: Design test scenario & score sheet) 3. การดำเนินการจัดสอบ (A: Arrange OSCE) แบ่งเป็น 3.1 การชี้แจงผู้เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ 3.2 การเตรียมนักศึกษา และ 3.3 การบริหารจัดการขณะสอบ และ 4. การสะท้อนคิดและให้ข้อมูลย้อนกลับ (R: Reflection & feedback) และ 5. การประเมินรูปแบบการสอบและการเตรียมนักศึกษา (E: Evaluation) ผลการประเมินรูปแบบการสอบ OSCE พบว่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะการให้ภูมิคุ้มกัน การให้ออกซิเจน และการให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน เท่ากับ 85.49 (SD 10.87), 79.50 (SD 10.52), และ 83.94 (SD 7.91) ตามลำดับ ร้อยละของการสอบผ่านโดยคิดที่คะแนนร้อยละ 70 พบว่า ทักษะการให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน มีการสอบผ่านสูงที่สุด (98.9 %, N 89), รองลงมาคือ ทักษะการให้ออกซิเจน (93.3 %, N 84) และการให้ภูมิคุ้มกัน (91.1 %, N 82) นักศึกษาที่สอบผ่านทั้ง 3 สถานี คิดเป็นร้อยละ 83.3 (N 75) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการสอบ OSCE พบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาต่อการสอบ OSCE เท่ากับ 4.11 (SD 0.59) จัดอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษามากที่สุด (Mean 4.26, SD 0.53) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพข้อสอบ (Mean 3.97, SD 0.59) ด้านการจัดสอบ (Mean 3.84, SD 0.54) และด้านการเตรียมความพร้อมนักศึกษา(Mean 3.82, SD 0.47) ตามลำดับผลการวิจัยสรุปได้ว่ารูปแบบการสอบ OSCE (P-DARE) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการประเมินทักษะด้านการพยาบาลเด็กและเตรียมความพร้อมด้านทักษะให้นักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย
Abstract
This research and development aimed to develop and evaluate a model of objective structured clinical examinations (OSCE) developed for evaluating knowledge and pediatric nursing skills of the third- year nursing students, Boromarajonani College of Nursing Bangkok. The development process included 5 phases: 1. Enhance OSCE competency ofthe nurse instructors, 2. Design OSCE model, 3. Prepare students and nurse instructors for the exam, 4. Try out the OSCE model, and 5. Evaluate the model by evaluating the pediatric clinical skills and satisfaction to the OSCE. The developed OSCE model or P-DARE model comprised 5 steps: 1 Preparation, 2. Design test scenario & score sheet, 3. Arrange OSCE included: 3.1) all involved people meeting 3.2) student preparation, and 3.3) management of OSCE, 4. Reflection & feedback, and 5. Evaluation. The evaluation of P-DARE model revealed that an average score of vaccination skill, oxygenation skill, and health education before discharge was 85.49 (SD 10.87), 79.50 (SD 10.52), and 83.94 (SD 7.91), respectively. Percentage of passing the exam was judged by using a cut point of 70%. It was found that the health education before discharge skill had the highest percentage of passing (98.9%, N 89), following by oxygenation skill (93.3%, N 84), and vaccination skill (91.1%, N 82). There were 83.3 percent (N 75) of students who passed all skills. The overall satisfaction to the OSCE score fell at highest satisfaction (Mean 4.11, SD 0.59). When classified by aspects, it was found that the student highest satisfied on the aspect oflearning outcome of student (Mean 4.26, SD 0.53), following by quality of test scenario (Mean 3.97, SD 0.59), management of OSCE (Mean 3.84, SD 0.54), and student preparation (Mean 3.82, SD 0.47), respectively. The finding indicates that P-DARE model is effective for evaluating clinical skills and preparing nursing students before practice in a clinical setting.
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น