การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผล ทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลDEVELOPMENT OF TEACHING AND LEARNING MODEL FOR DEVELOPING CLINICAL REASONING IN NURSING STUDETNS

ผู้แต่ง

  • วรรณี ตปนียากร
  • สุภาพร วรรณสันทัด
  • กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์
  • จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, การสอนในคลินิก, การให้เหตุผลทางคลินิก, การพัฒนาการให้เหตุผล ทางคลินิก, development of teaching model, clinical teaching, clinical reasoning, development of clinical reasoning

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลทาง
คลินิกในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ: ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลทางคลินิกในนักศึกษา พยาบาล (Clinical Reasoning Teaching Model [CRTM]) ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ห้อง B จำนวน 64 คน และระยะที่ 4 ประเมินผลรูปแบบ ในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ห้อง A จำนวน 103 คน ที่ขึ้น ฝึกปฏิบัติงานในคลินิก 3 แห่งๆ ละ 3 สัปดาห์ รวม 9 สัปดาห์ โดยให้นักศึกษาตอบแบบวัดทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กรณีศึกษา และตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน การสอน วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ ทดสอบที (paired t-test)

ผลการวิจัยพบว่า:
     รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลทางคลินิกได้ถูกพัฒนาขึ้นส????ำหรับใช้สอนในคลินิก ในการวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง โดยประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเตรียมการ ประกอบด้วย 1.1 การกำหนดวัตถุประสงค์และประเด็น การเรียนรู้ 1.2 การเลือกกรณีศึกษาที่เหมาะสม และ 1.3 การเตรียมความรู้ของนักศึกษา 2. ระยะสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน: 2.1 สังเกต 2.2 แปลผล 2.3 ก????ำหนดปัญหา-พาไตร่ตรอง 2.4 ตอบสนองให้เหมาะ 2.5 วิเคราะห์ผลลัพธ์ และ 2.6 สะท้อนคิดย้อนกลับส่กู ารเรียนร้แู ละพัฒนา เทคนิคหลักที่ใช้ในการสอนประกอบด้วย การตั้งคำถาม การใช้ผังมโนทัศน์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการสะท้อนคิด การประเมินผลรูปแบบ CRTM พบว่า คะแนนการให้เหตุผลทางคลินิกของ นักศึกษาภายหลังเรียนด้วย CRTM (Mean 62.29, SD 5.77) สูงกว่าก่อนเรียน (Mean 56.57, SD 7.37) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t=9.67, df 102) ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการพัฒนาความสามารถในการ ให้เหตุผลทางคลินิกในนักศึกษาพยาบาล

Abstract
     This research and development aimed to develop and evaluate a clinical reasoning teaching model (CRTM) for the third- year nursing students, Boromarajonani College of Nursing Bangkok. The development process included 4 phases: 1) Analyze situation, 2) Design the model, 3) Try out the model, and 4) Evaluate the model in 103 third-year nursing students who were placed to practice in 3 clinical settings, each setting lasted for 3 weeks. The students were asked to complete the Script Concordance Test to evaluate clinical reasoning ability at before and after using the CRTM. The paired t- test was used to analyze the data. The CRTM was developed for teaching a case conference in clinical setting. It comprised 2 phases: Phase I: Preparation phase including 1.1 define leaning objective and learning concept, 1.2 select appropriated case study, and 1.3 prepare student’s knowledge. Phase II: Teaching phase including 6 steps: 2.1 noticing, 2.2 interpreting, 2.3 defining nursing problem & reflection- in- action, 2.4 appropriated responding, 2.5 evaluating nursing outcome, and 2.6 reflection- on-action and clinical
learning. Major teaching technics were asking question, using concept mapping, providing feedback, and reflection-in-action & reflection-on action. The evaluation of the model demonstrated that the clinical reasoning score at after applying the CRTM (Mean 62.29, SD 5.77) was higher than at before applying the model (Mean 56.57, SD 7.37) with statistical significance (t=9.67, df 102, p <.05). Therefore, the CRTM is a promising clinical teaching model for developing clinical reasoning in nursing students.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย