ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์

Main Article Content

วินนะดา คงเดชศักดา
ชุมแพ สมบูรณ์
อัมไพวรรณ พวงกำหยาด

บทคัดย่อ

        ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia; VAP) เป็นการติดเชื้อพบบ่อยที่สุดในหอผู้ป่วยวิกฤตและพบได้ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่ง เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้เป็นลำดับแรกๆ ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีอัตราป่วยตายสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด VAP ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล จัดทำโดยสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2566 ข้อมูลจากโรงพยาบาลศูนย์ 30 แห่ง
      ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาล จำนวน 6,441 ราย (ร้อยละ 62.1) เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP) และร้อยละ 37.9 เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (non-VAP) โดยผู้ป่วย VAP เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต 2,230 ราย (ร้อยละ 83.2) และผลลัพธ์การรักษา พบผู้ป่วย VAP เสียชีวิต จำนวน 641 ราย (ร้อยละ 69.6) การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด VAP โดยใช้สถิติ binary logistic regression พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเกิด VAP เป็น 5.4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยที่ไม่วิกฤต (AOR=5.4, 95% CI =4.73-6.35) และผู้ป่วยที่มี VAP พบว่ามีการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ เป็น 1.3 เท่า (AOR=1.3, 95% CI =1.15-1.49) เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่พบใน VAP มากกว่า non-VAP คือ Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพบได้มากขึ้นในผู้ป่วย VAP เช่นกัน ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ควรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
คงเดชศักดา ว., สมบูรณ์ ช., & พวงกำหยาด อ. (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 18(3), 143–154. https://doi.org/10.14456/jbidi.2024.14
บท
บทความวิจัย

References

Pediatric Infectious Diseases Society of Thailand. Healthcare-associated infections (HAI). [Internet]. 2024 [cited 2024 Aug 11]. Available from: https://pidst.or.th/A183.html (in Thai)

Magill SS, Edwards JR, Bamberg W, Beldavs ZG, Dumyati G, Kainer MA, et al. Multistate point-prevalence survey of health care-associated infections. N Engl J Med. 2014; 370(13): 1198-208.

Bonell A, Azarrafiy R, Huong VTL, Viet TL, Phu VD, Dat VQ, et al. A systematic review and meta-analysis of ventilator-associated pneumonia in adults in Asia: an analysis of national income level on incidence and etiology. Clin Infect Dis. 2019; 68(3): 511-8.

National Health Safety Network. Pneumonia (ventilator-associated [VAP] and non-ventilator-associated pneumonia [PNEU]) event. January 2024.

Papazian L, Klompas M, Luyt CE. Ventilator-associated pneumonia in adults: a narrative review. Intensive Care Med. 2020; 46(5): 888-906.

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. IPC and AMR surveillance. [Internet]. 2024 [cited 2024 Aug 11]. Available from: https://www.nicc-ipcprogram.org/ (in Thai)

Wu D, Wu C, Zhang S, Zhong Y. Risk factors of ventilator-associated pneumonia in critically ill patients. Front Pharmacol. 2019; 10: 482.

Pawlik J, Tomaszek L, Mazurek H, Mędrzycka-Dąbrowska W. Risk factors and protective factors against ventilator-associated pneumonia—A single-center mixed prospective and retrospective cohort study. J Clin Med. 2022; 12(4): 597.

Kózka M, Sega A, Wojnar-Gruszka K, Tarnawska A, Gniadek A. Risk factors of pneumonia associated with mechanical ventilation. Int J Environ Res Public Health. 2020; 17(2).

Akeur U. Epidemiology and practice guidelines for preventing hospital-acquired infections. Chiang Mai: Ming Muang Press; 2013. (in Thai)

Ruangkhae S, Unahalekhaka A, Kasatpibal N. Practices and obstacles in prevention of ventilator-associated pneumonia among registered nurses in intensive care units. Nurs J. 2021; 48(2): 1-10.

Porwimon L. Nosocomial pneumonia and ventilator-associated pneumonia in adult patients at Samut Prakan Hospital: causes, risk factors, treatment outcomes, and impacts of antimicrobial resistance. J Med Sci Region 11. 2019; 33(2): 181-196. (in Thai)

Kengkaj U. Factors associated with ventilator-associated pneumonia in pediatric intensive care unit. J Mahasarakham Hosp. 2020; 17(2): 13-25. (in Thai)

Pawarisa R. Factors associated with the incidence of pneumonia in patients using ventilators in Hua Hin Hospital, Prachuap Khiri Khan. J Res Health IQ. 2023; 3(1): 37-48. (in Thai)

Dussadee D, et al. Incidence of ventilator-associated pneumonia in the Pediatric Intensive Care Unit of Vajira Hospital. Vajira Med J. 2016; 60(3): 201-209. (in Thai)

Natthaka J. Risk factorts and Outcomes of ventilator-associated pneumonia neonates. J reg11med 2019;33(2):233-242. (in Thai)

Food and Drug Administration and Health Technology Assessment and Policy Project. Evaluation system for integrated antimicrobial resistance surveillance. 2017. (in Thai)

Department of Disease Control. Guidelines for surveillance and investigation of antimicrobial resistant pathogens. 2022. (in Thai)

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Hospital-Acquired Infection Diagnosis Guideline. Bangkok: Aksorn grphic and design publishing limited partnership. 2018 (in Thai)

Thanittada L. Incidence and causes of nosocomial pneumonia and ventilator-associated pneumonia at Somdet Phra Phutthaleang Hospital. Chonburi Hospital J. 2021; 16(2): 121-130. (in Thai)

Department of Health Service Support. Design manual for healthcare facilities and environment in intensive care units. 2017. (in Thai)

Bamrasnaradura Institute. Prevention of antimicrobial-resistant infections in hospitals. Bangkok: Akson Graphic and Design Press; 2019. (in Thai)