การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
นิ่วในถุงน้ำดีเมื่อมีการอักเสบการรักษาที่เหมาะสมคือการผ่าตัด ฉะนั้นพยาบาลมีบทบาททั้งให้การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดรวมถึงการวางแผนจำหน่าย การศึกษาครั้งนี้จึงเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy)และแบบผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy: LC) โดยเปรียบเทียบผู้ป่วย 2ราย(Cases Study) ศึกษาข้อมูลจากประวัติผู้ป่วยนำมาเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม ถึง 19 เมษายน 2566
ผลการศึกษา พบว่า รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 74 ปี มาโรงพยาบาลด้วยแพทย์นัดผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์วินิจฉัย Symptomatic Gallstone ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) หลังผ่าตัดมีภาวะแทรกซ้อนเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด สามารถจำหน่ายกลับบ้าน รวมนอนโรงพยาบาล 3 วัน รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 61 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ จุกแน่น 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง แพทย์วินิจฉัย Gangrenous cholecystitis ได้รับการผ่าตัด Open Cholecystectomy หลังผ่าตัดพบปัญหาความดันโลหิตต่ำ ต้องสังเกตอาการที่หอผู้ป่วยหนักก่อนที่จะย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญจนอาการดีขึ้นรวมนอนโรงพยาบาล 13 วัน
จากการศึกษาครั้งนี้การที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐาน จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ด้านบริการ พยาบาลห้องผ่าตัดสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการให้บริการแก่ผู้ป่วยและญาติ ส่วนทางด้านบริหารทีมบริหารกลุ่มการพยาบาล สามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงบริหารงาน ในแง่ความจำเป็น เหมาะสม คุ้มค่า คุ้มทุน
Article Details
References
Institute of Medical Research and Technology Assessment.Economic evaluation of laparoscopic cholecystectomy versus open cholecystectomy [internet]. 2020 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://drive.google.com/file/d/17NfU_9x3yzx1byii92abovAXSJK92rtp/view (in Thai)
Medical Statistics, Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Patient statistics report of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute 2019-2021. Nonthari: Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute; 2022. (in Thai)
Kusoom W. Nursing diagnosis and nursing care plans. 2nd ed. Bangkok: P.K.K.PRINTING; 2021. (in Thai)
Seewatee A. Comparative Study between Open cholecystectomy and Three port Laparoscopic cholecystectomy in Chatturat rural Hospital. Chaiyaphum Medical Journal [Internet]. 2020 [cited 2023 Sep 1]; 36(3): 48-59. Available from: https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/7402 (in Thai)
Ruengcharat L. Comparative study between Open Cholecystectomy and Three ports Laparoscopic Cholecystectomy in Sriboonruang Hospital, Nongbua Lamphu province: Retrospective Analytical Study. RDHSJ [Internet]. 2021 [cited 2023 Sep 1]; 14(3): 233-45. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/253516 (in Thai)
Khantasa-ard P. Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy Using Hand-made Glove Port. Srinagarind Med J [Internet]. 2020 [cited 2023 Sep 1]; 35(6): 649-655. Available from: https://www.thaiscience.info/Journals/Article/SRMJ/10994095.pdf (in Thai)
Pongam S. Nursing care of the gallbladder stone surgery patients: a case study comparing 2 cases. Singburi Hosp J [Internet]. 2020 Jan. 31 [cited 2023 Sep 1]; 29(1): 100-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248797 (in Thai)
Revatpattanakit P. Nursing care for Cholecystectomy and underlying disease : 2 case study. MKHJ [Internet]. 2020 [cited 2023 Sep 1]; 17(1): 131-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/241258 (in Thai)