ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพดีวิถีธรรม วิถีไทย ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความดันโลหิตสูง เขตสุขภาพที่ 9

Main Article Content

กิตติ์พงศ์ สัญชาตวิรุฬห์
ญาดา โตอุตชนม์
กรรณิกา บัวทะเล
ปาริชาติ จิตกลาง
ธันวดี รู้รอบ
คนึงนิจ เยื่อใย

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) เพื่อประเมินผลโปรแกรมสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้  จำนวน 53 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 26 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 27 คน  อบรมให้ความรู้กลุ่มทดลองโปรแกรมสุขภาพดีวิถีธรรม วิถีไทย (3ส. 3อ. 1น.) จำนวน 3 วัน แจกนาฬิกาสุขภาพและติดตามกลุ่มตัวอย่างทุกสัปดาห์  เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างในกลุ่มและระหว่างกลุ่มด้วย Paired  t-test และ Independent t-test  พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สถานภาพคู่ นับถือศาสนาพุทธ รับประทานยาควบคุมความดันสม่ำเสมอ กลุ่มทดลองหลังได้รับการอบรมมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ p-value 0.56 และพบว่าพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมโรคความดันโลหิตสูง น้ำหนัก  ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  p-value < 0.05 พบว่าค่าเฉลี่ยความดันโลหิตกลุ่มทดลองลดลงทั้งตัวบนและตัวล่างมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  p-value < 0.05 ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมสุขภาพดีวิถีธรรม วิถีไทย ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

Article Details

How to Cite
สัญชาตวิรุฬห์ ก., โตอุตชนม์ ญ., บัวทะเล . ก., จิตกลาง ป., รู้รอบ ธ., & เยื่อใย ค. (2022). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพดีวิถีธรรม วิถีไทย ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความดันโลหิตสูง เขตสุขภาพที่ 9. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 16(3), 72–82. https://doi.org/10.14456/jbidi.2022.13
บท
บทความวิจัย

References

Payogo S. thai Sudsukh. Buddhist Integration of aring for Chronic Diseases in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies. 2558; 3(2): 45-64. (in Thai)

Rakpanich, P. Hypertension Diabetes Ischemic Heart Disease and Behavior. 2nd ed. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing demonstrations of Thai; 2542. (in Thai)

Kongpanakul S. Techniques for the treatment of Hypertension. 2nd ed. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing demonstrations of Thai; 2542. (in Thai)

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Number and Mortality Rate of non Communicable Disease 2559-2560 B.D. [Internet]. 2018 [cited 2019 April 19]. Available from: http:// www.thaincd.com. (in Thai)

Ministry of Public Health. Indicators of the Ministry of Public Health. [internet]. 2019[cited 2019 July 11]. Available from: https://hdcservice. moph.go.th/hdc /main / index.php?sele_kpiyear=2019&level= 1 & sele_kpi= d36f6c 38999d128132513933e 36a848a. (in Thai)

Panyachotikun A, Satkong S, Sriwisit S. Effects of SKT Meditation Therapy for Lowering Blood Pressure Level of Patients with Hypertension in Sikao Hosptial, Trang Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2560; 4(2): 245-255. (in Thai)

Division of Complementary and Alternative Medicine, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Uthai Sudsukh Foundation. Guidelines for Learning and 3s 3a 1n Practice to Create Holistic Health. 2556. (in Thai)

Srisatidnarakul B. The Methodology in Nursing Research. 5thed. Bangkok: U&I intermedia, 2553. (in Thai)

Polit, D. and Hungler, B. Nursing Research: Principle and Method, 6th ed. Philadelphia: Lippincott Company, 1999.

Kantharadussadee ST. Public Health Innovation for Health Promotion and Healing of Chronic Illnesses and End Stage of Life Patients. Journal of Public Health. 2553; 43(3): 215 – 217. (in Thai)